เครื่องพิมพ์สามมิติของหน่วยวิจัย DSDI

» หน่วยวิจัยวิทยาการข้อมูลและนวัตกรรมดิจิทัลเล็งเห็นถึงองค์ความรู้ที่ใช้ในการบูรณาการสร้างสรรค์นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ทางความคิด  จึงได้จัดหาเครื่องพิมพ์สามมิติมาใช้ในการวิจัยและการเรียนการสอน โดยได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้าหน่วยวิจัย ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้
» เผยแพร่ : 13 พฤษภาคม 2562

การรู้จำเสียงพูดและประยุกต์สำหรับหมุนวัตถุด้วยเทคนิค spot keys

» โปรเจ็ครู้จำเสียงพูดและนำคำที่ได้ไปหารูปแบบคำสั่งด้วยเทคนิค spot key เพื่อควบคุมการหมุนของสเต็ปมอเตอร์
» เพลงประกอบการนำเสนอ : https://www.youtube.com/watch?v=Z10MvSRf__Q จากภาพยนต์เรื่อง"ไซอิ๋ว เดี๋ยวลิงเดี๋ยวคน" นำแสดงโดย โจวซิงฉือ

การสกัดฟีเจอร์ด้วยเทคนิค Deep Learning

» อ.แจ๊ค ส่งดาตาเซ็ตมาให้สกัดฟีเจอร์ด้วยวิธีเรียนรู้เชิงลึกครับ
» เผยแพร่ 13 พฤษภาคม 2562

ไมโครไพธอน (Micropython)

Micropython คือเฟิร์มแวร์โอเพ่นซอร์ส (firmware) ที่นำไปใช้กับคอนโทรลเลอร์และอนุญาตให้นักพัฒนาเขียนภาษาไพธอนบนตัวคอนโทรลเลอร์ได้ โดยสามารถอัพโหลดไฟล์ main.py เข้าไปใน ESP8266 ซึ่งจะทำให้โปรแกรมทำงานเมื่อจ่ายไฟเข้าไปยังคอนโทรลเลอร์ นอกจากนั้นยังเขียนโปรแกรมผ่าน interactive shell ได้ (การสื่อสารอนุกรม : Serial Communication)

ความคลาสสิคของภาษาไพธอนคือความง่ายในการเข้าถึงอิลิเมนต์และ anonymous function (การสร้างฟังก์ชั่นขณะรันไทม์) อีกทั้งแนวคิดของแม็พรีดิวส์ซึ่งทั้งหมดนั้นถูกพอร์ตออกมาทำงานในไมคอนโทรลเลอร์ได้แล้ว

ปล. คอนโทรลเลอร์ ESP8266 ในภาพสั่งออนไลน์จาก shopee ในราคา 70 บาท (เจ็ดสิบบาท) ต่อจากนี้ไป.. ไมโครคอนโทรลเลอร์จะไม่ใช่เรื่องไกลตัวของคนในยุคโลกาภิวัฒน์อีกต่อไปครับ

เผยแพร่ 7 พฤษภาคม 2562

ทดสอบใช้งาน IMU (Inertial measurement unit)

IMU ที่ใช้เป็นรุ่น GY-521 ซื้อมาจาก Shopee ราคา 27 บาท (ยี่สิบเจ็ดบาทถ้วน)

ทดสอบกับไมโครคอนโทรลเลอร์ 2 ตัวคือ
1. ESP8266 และ 2. Arduino UNO V3

หลักการทำงาน
1. การสื่อสารระหว่าง Controller และ GY-521 ใช้มาตรฐาน I2C
2. ใช้ Arduino IDE เขียนโค๊ด+คอมไพล์และโปรแกรมลงบอร์ด จากนั้นตัวบอร์ดจะสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ผ่าน UART (Serial Port) โดยผ่าน USB ที่เสียบอยู่กับไมโครคอนโทรลเลอร์ 
3. การแสดงผล ใช้โปรแกรม Processing เพื่อสื่อสารกับไมโครคอนโทรลเลอร์ และนำค่าที่ได้มาแสดงผลโดยภายในโปรแกรม processor โดยใช้ไลบรารี่ของ opengl และ toxiclibs_p5

สรุป :
» ตัวโมดูล Gy-521 นี้ราคาถูกกว่าที่คิดไว้มาก เพียง 27 บาทเท่านั้น สามารถนำมาประยุกต์ได้มากมาย โดยเฉพาะด้านมัลติมีเดีย นำมาใช้แทน motion capture ส่วนคอนโทรลเลอร์ Arduino UNO V3 ราคา 87 บาท และ ESP8266 ราคา 83 บาท
เผยแพร่ 8 เมษายน 2562

คอมพิวเตอร์กราฟิก VS อิมเมจโปรเซสซิ่ง

» คอมพิวเตอร์กราฟิก คือ การสร้างภาพจากสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง เริ่มตั้งแต่สร้างโมเดล การทรานสฟอร์มเมชั่น (ย้าย, ย่อขยาย และหมุน) และการใส่พื้นผิว Texture Mapping , การใส่แหล่งกำเนิดแสงและกระบวนการ Illumination Model ในเบื้องหลังเต็มไปด้วยสมการ อัลกอริทึมมากมาย สุดท้ายเรนเดอร์เพื่อให้ได้ภาพออกมา โปรแกรมในตระกูลนี้ ได้แก่ maya, 3dmax ฯลฯ แต่ที่โดดเด่นมากตอนนี้คือ Blender ซึ่งใช้งานได้ฟรี อีกทั้งสามารถนำโมเดลไปพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติได้อีกด้วย.. :)

» Image Processing คือ การนำภาพที่มีอยู่ไปผ่านขบวนการเพื่อให้ได้ภาพใหม่ เช่น ภาพที่ชัด เบลอ เป็นต้น ดังนั้น โปรแกรม Photoshop จัดอยู่ในกลุ่มนี้

แม้ว่าในวงการคอมพิวเตอร์กราฟิก จะมีอัลกอริทึมระดับเทพอยู่ 2 ตัว หลัก ๆ คือ 1) Ray Tracing พัฒนาโดยนักวิจัยไมโครซอฟต์ และ 2) Radiosity พัฒนาโดยอาจารย์ donald greenberg จากมหาวิทยาลัยคอร์เนล

แน่นอนว่า Radiosity ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า Raytracing โดยเฉพาะ Diffusive คือการกระจายของแสงในมุมทึบ แต่ในปัจจุบันก็ยังนิยมใช้ Raytracing

หมายเหตุ : Ray Tracing ใช้หลักการสร้างภาพจาก... การติดตามลำแสง !!

ปัจจุบันนี้.. เทคโนโลยีการประมวลผลก้าวมาไกลมาก เราสามารถประมวลผล Ray Tracing แบบเรียลไทม์ โดยใช้ RTX 2080 ti
ปล. RT ย่อจาก Ray Tracing

ปัญหาอีกอย่างของการผลิตสื่อด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิก คือ การใส่การเคลื่อนไหวให้กับโมเดลสามมิติ จึงได้มีมาตรฐาน BVH (BioVision Hierarchy) ซึ่งเป็นการเก็บพิกัดของโครงกระดูกซึ่งสามารถนำไปแม็พเข้ากับโมเดลสามมิติ ซึ่ง BVH นั้นอธิบายข้อมูลในลักษณะเท็กซ์ไฟล์ธรรมดา ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1) header 2) detail

สำหรับ MMD นั้นใช้การเคลื่อนไหวด้วย .vmd ซึ่งต้องแปลงจาก bvh อีกครั้ง

นอกจากนั้นแล้ว.. บริษัทไมโครซอฟต์ได้พัฒนา Kinect ซึ่งสามารถสังเคราะห์ข้อมูล BVH ได้ระดับหนึ่ง โดยในตัวกล้องจะมี IR (อินฟราเร็ด) และที่สำคัญ สนับสนุน MMD ดังนั้นการทำแอนิเมชั่นพื้นฐานสามารถทำได้ง่ายกว่าในอดีตอย่างมาก

ปล. หลอด IR จำหน่ายหลอดละ 1 บาท สั่งซื้อได้จาก shopee

เทคโนโลยีของการจับการเคลื่อนไหวอีกตัว คือ.. การใช้ IMU (Inertial measurement unit) ซึ่งเป็นไอซีสำหรับบอกทิศทางและตำแหน่งด้วยตัวไอซีสำเร็จรูปเพียงตัวเดียว ผมสั่งซื้อเข้ามา 20 ชุด ในราคาชุดละ 27 บาท ได้รับของแล้ว เผื่อว่าจะเอามาทำเครื่องตรวจจับการเคลื่อนไหวเพราะอุปกรณ์พวกนี้ราคาสูงมาก

เผยแพร่ 13 พฤษภาคม 2562

ทดลอง DJI Osmo Pocket ครับ

เผยแพร่ 19 มกราคม 2562

มาใช้งาน Intel Movidius กันครับ

Intel Movidius เป็นหน่วยประมวลผลภาพ VPU (Vision Processing Unit) มีความโดดเด่นคือ เร่งความเร็วในงาน Deep Learning และ Neual Network ประมวลผลได้ที่ 100 GFLOPS โดยกินไฟเพียง 1 วัตต์ ราคา $80

เผยแพร่ 19 ตุลาคม 2561

ระบบอาร์มคลัสเตอร์ (ARM Cluster)

ระบบอาร์มคลัสเตอร์ ประกอบด้วย Nano Pi จำนวน 30 ชุด ใช้สำหรับการเรียนการสอนวิชาการบริหารระบบเครือข่าย

อ่านบัตรประชาชนได้ทั้งบน PC และ Embedded Linux เช่น Raspberry Pi และ Nano/Banana Pi

การอ่านข้อมูลหน้าบัตรประชาชน
» พัฒนาด้วยภาษา Python
» สินค้า : http://www.salathaiit.com/product/26/stc292-rfid
» เผยแพร่ 10 ตุลาคม 2560

ตรวจจับวัตถุและ Pose Estimation ด้วย Caffe Model

นับตั้งแต่มีการนำนิวรอนเน็ตเวอร์คมาต่อกันหลาย ๆ ชั้น (deep learning) ก็ทำให้เทคโนโลยีการตรวจจับสิ่งของทำได้ดีขึ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ ในตัวอย่างนี้เป็นการตรวจจับอิริยาบถ ใบหน้าและมือ
ปล. ทำงานบน -> Windows 10 + Nvidia Geforce 1060 + Pose Estimation 
» เผยแพร่ 21 มีนาคม 2562

การรู้จำใบหน้าทำงานบนลินุกซ์เว็บเซิฟเวอร์พัฒนาด้วย Python + php

» เวอร์ชั่นนี้ทำงานลินุกซ์ ด้วยภาษาไพธอนเป็นส่วนรู้จำใบหน้าและ php ส่วนรับส่งฟอร์มหน้าเว็บ
» เผยแพร่ 21 พฤษภาคม 2560

การรู้จำใบหน้าสำหรับระบบการตรวจสอบการเข้าชั้นเรียนขนาดใหญ่

» เวอร์ชั่นนี้ทำงานบนวินโดวส์ ทดสอบกับนิสิตรายวิชาศึกษาทั่วไป
» เผยแพร่ 16 พฤษจิกายน 2559

เทรนเสียงพูดภาษาไทยด้วย Tacotron2

» Tacotron2 เป็นเครื่องมือสำหรับการ Train เสียงพูด ใช้สำหรับงานการแปลงข้อความเป็นเสียง (TTS) ซึ่งตัว Tacotron2 พัฒนาโดยบริษัท Google วันนี้ ถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดี ที่ได้มีโอกาสฝึกเทรนเสียงพูดภาษาไทย 
ทดสอบฟังเสียง TTS 
» ทดลองฟังเสียงหุ่นยนต์ อ.ยอด ที่สร้างขึ้นจาก Tacotron2

การรู้จำตัวอักษรภาษาไทย (Thai OCR)

» ในปัจจุบันนี้การตรวจจับวัตถุและการรู้จำวัตถุเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายขึ้นกว่าในอดีตมากเพราะแนวคิดของโครงข่ายประสาทเทียมแบบหลายชั้น และแนวคิดของคอนโวลูชันนิวรอนเน็ตเวอร์ค ทำให้การจัดการเกี่ยวกับภาพ เป็นเรื่องง่ายและใกล้ตัวพวกเรามากขึ้น

การรู้จำตัวอักษรภาษาไทยป้ายบอกทาง


การรู้จำตัวอักษรภาษาไทยป้ายทะเบียนรถ


การรู้จำตัวอักษรภาษาไทยสลากกินแบ่งรัฐบาล


การตรวจจับวัตถุด้วย Yolo v7

» Yolo คืออะไร ?
» Yolo คือ อัลกอริทึมในการตรวจจับวัตถุภายในภาพอันหนึ่ง ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเพื่อนและเร็วกว่าใคร และ Cira Core ก็นำอัลกอริทึมเหล่า ๆ นี้ไปทำกราฟิกอินเตอร์เฟสให้ใช้ง่าย แต่เบื้องหลังก็ใช้ศักยภาพจากกลุ่มโอเพ่นซอร์ส
» ถ้าใช้ Yolo บน Colab ก็ไม่มีอะไรต้องให้ปวดหัวมาก เพราะกูเกิ้ลจัดสรรสภาพแวดล้อม รวมทั้งมี GPU ให้ใช้งาน แต่ถ้าต้องมาติดตั้งระบบเองอันนี้ปวดหัวแน่นอน เพราะโอเพ่นซอร์สปัญหาใหญ่คือเวอร์ชั่นของโอเพ่นซอร์สแต่ละตัวที่มีอยู่มากมายแล้วมันก็ชนกันมั่วซั่วจน ทำให้การอิมพลิเมนต์เป็นงานที่ค่อนข้างยากลำบากสำหรับนักวิจัยอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ
» วันนี้.. ใช้เวลา setup ระบบตั้งแต่ 6 โมงเช้าจนถึง 11.00 น. เล่นเอาหอบเหมือนกัน คิดว่าจะลงไม่ได้ซะแล้ว.. แต่ตอนนี้ก็ทำงานได้สมบูรณ์แล้ว และก็ทำงานบน GPU รวมถึงใช้งานใน Jupyter Notebook ได้
» ภาพด้านล่างเป็นตัวอย่าง Segmentation ด้วย Yolov7 ครับ

เครื่องสแกนสามมิติที่ภาควิชาสารสนเทศศาสตร์ มมส

» ที่ภาควิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีเครื่องแสกนสามมิติ รุ่น Einscan Pro 2X 
» ตัวอย่างภาพสแกนจากเครื่องแสกนสามมิติ 


ตัวอย่างการสแกนวัตถุสามมิติ

การสร้างตรามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ด้วย Maya

» การสร้างตรามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ด้วย Maya และเรนเดอร์ด้วย Arnold Engine และใช้ HDR เป็นสภาพของแหล่งกำเนิดแสง เป็นกิจกรรมของสัปดาห์ที่ 7 วิชาการพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ในงานสารสนเทศ




การตัดชิ้นงานด้วยเครื่องตัดเลเซอร์

» เมื่อวานนี้ (15 มกราคม 2567) ผมได้สอนนิสิตวิชาเลือก 202-465 นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งพึ่งเปิดในปีนี้เป็นครั้งแรก นิสิตได้เรียนรู้การทำสื่อสิ่งพิมพ์จากเครื่องตัดเลเซอร์ 
» ในปัจจุบันการตัดด้วยเลเซอร์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
» ระบบกำเนิดแสงเลเซอร์ ในปัจจุบันมี 2 แบบ คือ 1) แสงจากเลเซอร์ไดโอด อุปกรณ์มีขนาดเล็ก 2) แสงเลเซอร์จากหลอด CO2 บรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์และปล่อยแรงดันระดับหมื่นโวลต์กระตุ้นภายในหลอดแล้ว ซึ่งอุปกรณ์มีขนาดใหญ่กว่าแบบเลเซอร์ไดโอด
» การตัดเลเซอร์นี้สามารถตัดไม้อัด ตัดอคลิริค ฯลฯ เครื่องที่ซื้อมานี้ตัดได้หนา 20 มม ซึ่งสามารถนำไปตัดเป็นรูปเฟือง และโครงสร้างอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ นับว่าเป็นเครื่องจักรที่มีประโยชน์มาก ๆ
» จากการเรียนรู้และใช้งาน พบว่าผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่จะใช้ K40t และ Coreldraw หรือไม่ก็จะเปลี่ยนบอร์ดควบคุมเป็นรุ่น MKS DLC32 ก็จะสามารถควบคุมด้วย Lightburn ได้
» ด้วยความต้องการใช้ Lightburn กับเครื่องตัด CO2 จึงได้ค้นคว้าวิธีการทำให้ใช้งานโดยไม่ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ด และก็พบว่า Meerk40t ซึ่งพัฒนาด้วย Python  สามารถเชื่อมกับ Lightburn ผ่าน Ruidacontrol เพื่อควบคุมเครื่องตัดได้ 
» จากการค้นพบจึงได้แจ้งไปทางผู้ขายว่าไม่ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดก็สามารถควบคุมด้วย Lightburn ได้ โดยติดตั้ง meerk40t และเปิด service ของ ruidacontrol คนขายก็ดีใจว่าทำแบบนี้ได้ด้วยครับ


 การตัดชิ้นงานด้วยเครื่องตัดเลเซอร์เป็นส่วนหนึ่งของวิชาเลือก 202-465 นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล ภาควิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

การสร้างภาพอวตาด้วย Superme for android

» Superme for android ที่ช่วยให้สามารถออกแบบตัวละครที่หลากหลาย โดยใช้เทมเพลตที่มีความแตกต่างและให้เลือกมากมายในแต่ละหมวด อาทิ ทรงผม ดวงตา จมูก ปาก เสื้อผ้า และอื่น ๆ

การเปลี่ยนภาพขาวดำให้เป็นภาพสีด้วย PaintsChainer

» PaintsChainer เป็นเครื่องมืออัตโนมัติสำหรับการระบายสีภาพวาดหรือภาพเส้น (line art) โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้รับการพัฒนาโดยสตูดิโอซอฟต์แวร์ในญี่ปุ่นและได้รับความนิยมในหมู่ผู้ใช้งานที่ต้องการวิธีรวดเร็วในการเติมสีให้กับงานศิลปะของพวกเขาโดยไม่ต้องใช้เวลาหรือทักษะในการระบายสีด้วยตัวเอง
» PaintsChainer มีความสามารถในการรับรู้เส้น, รูปทรง, และรายละเอียดของภาพเพื่อทำการระบายสีที่เหมาะสมโดยอัตโนมัติ ผู้ใช้สามารถอัปโหลดภาพเส้นของตนและเลือกตั้งค่าหรือแนะนำสีบางส่วนที่ต้องการให้ระบบประมวลผล ซึ่งเครื่องมือจะจัดการระบายสีที่เหลือให้ เทคโนโลยีนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับศิลปินที่ต้องการทดลองกับสีสันในงานศิลปะของตนหรือต้องการเพิ่มความเร็วในกระบวนการสร้างสรรค์
» นอกจากการให้บริการระบายสีอัตโนมัติแล้ว PaintsChainer ยังมีฟีเจอร์ที่อนุญาตให้ผู้ใช้ปรับแต่งสีที่ได้จากระบบ, แก้ไขรายละเอียด, และเพิ่มการสัมผัสส่วนตัวในงานศิลปะได้ โดยรวมแล้ว PaintsChainer เป็นเครื่องมือที่น่าสนใจสำหรับศิลปินและผู้สร้างสรรค์งานดิจิทัลที่ต้องการใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยเหลือในกระบวนการทางศิลปะ

การรัน .net framework บนลินุกซ์ด้วย mono

» Mono เป็นโปรเจกต์ซอฟต์แวร์ฟรีและโอเพ่นซอร์สที่เริ่มต้นโดย Xamarin (ซึ่งต่อมาถูกซื้อโดย Microsoft) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่เข้ากันได้กับ .NET Framework บนระบบปฏิบัติการที่ไม่ใช่ Windows เช่น Linux, macOS, และ Unix. หลักการของ Mono คือการให้ชุดเครื่องมือและไลบรารี่ที่จำเป็นในการพัฒนา, รันไทม์, และรันแอปพลิเคชั่นที่เขียนด้วย C# หรือภาษา .NET อื่นๆ บนแพลตฟอร์มต่างๆ ทำให้โปรแกรมเมอร์สามารถพัฒนาแอปพลิเคชั่นแบบ cross-platform ได้อย่างง่ายดาย

» ฝั่งลินุกซ์
- ติดตั้ง mono

» ฝั่งวินโดวส์
- สร้างโปรเจ็ค
- คอมไพล์ได้ไฟล์ .EXE

» คัดลอกไฟล์ที่คอมไพล์แล้วมาทำงานบนลินุกซ์
$ mono myprogram.exe

การออกแบบเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง 9-60 โวลต์กำลังสูงจากเครื่องเชื่อม IGBT

» เผยแพร่ 10 มีนาคม 2563
» เครื่องเชื่อมในอดีตจะใช้ขดลวดทองแดงเพื่อปรับแรงดันและกระแส แต่ในปัจจุบันใช้ IGBT ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้ากำลังมีขนาดเล็กลงอย่างมาก
» ส่วนสำคัญของระบบคือ การสร้างสัญญาณ PWM เพื่อเข้าไปควบคุมขา Gate ของ IGBT ด้วยไอซี SG3525
» การควบคุมแรงสัญญาณ PWM ต้องควบคุมที่ขา 9 ของไอซี SG3525 
Converter เป็นส่วนสำคัญสุดใน Switching Power Supply โดยทำหน้าที่ลดไฟกระแสตรงแรงดันสูงมาเป็นไฟกระแสตรงแรงดันต่ำ แบ่งเป็น 5 รูปแบบ ได้แก่
1. Flyback converter ให้กำลังงานต่ำไม่เกิน 150 วัตต์ มีสัญญาณรบกวน RFI/EMI ค่อนข้างสูง
2. Forward converter ให้กำลังงานต่ำ 100-200 วัตต์แต่กระแสมีการกระเพื่อมต่ำกว่า Flyback converter
3. Push-Pull converter ให้กำลังได้ 200-1000 วัตต์ สามารถจ่ายกำลังได้มากกว่า Flyback สองเท่าที่กระแสด้านขดลวด primary จำนวนเท่ากัน กระแสค่อนข้างเรียบ
4. Half-Bridge converter แก้ปัญหาความไม่สมมาตรของฟลักซ์ในแกนเฟอร์ไรต์ของหม้อแปลง มีราคาถูกหาซื้อได้ง่าย
5. Full-Bridge converter ให้กำลังงาน 500-1000 วัตต์ มี power transistor จำนวน 4 ตัว โดยนำและหยุดกระแสเป็นคู่สลับกันไป
เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์สามารถนำมาดัดแปลงเป็น Power Supply และประยุกต์ได้อย่างกว้างขวาง ด้วยข้อดีกำลังงานที่สูง เช่น
» นำไปสลายซัลเฟตในแบตเตอร์รี่ชนิดตะกั่วรถยนต์ที่ใช้กันทั่วไป
» นำไปเป็นแหล่งพลังงาน power supply แรงดันไฟฟ้า 9 - 60v กระแสมากกว่า 100A
» นำไปทำเครื่องชาร์ตแบตเตอร์รี่ทั้งลิเธียมและตะกั่วกรด
» นำไปทำเครื่องเชื่อมเงินและทองแรงดันต่ำ
» นำไปทำเครื่องหลอมโลหะด้วยการเหนี่ยวนำ
» นำไปขับเครื่องเสียงรถยนต์
» นำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง
» เวอร์ชั่นนี้ทดสอบกับเครื่องเชื่อม IGBT ที่ใช้ไอซี SG3525 เป็นชุดควบคุมสัญญาณ PWM (Pulse Width Modulation)
» ออกแบบวงจรด้วย EasyEDA และสั่งผลิต PCB โดย JLCPCB
» เชื่อมต่อสัญญาณควบคุมไปยังไอซี SG3525.pin9 
» วงจรทำหน้าที่สร้างสัญญาณไปควบคุมการสังเคราะห์ PWM เพื่อจ่ายให้กับ IGBT สำหรับสร้างไฟฟ้ากระแสตรงที่มีกระแสมากกว่า 100A

ช่วยราชการกรมฝนหลวง

» ฝนหลวงใช้โปรแกรม RainBow ในการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณน้ำฝน และโปรแกรมดังกล่าวพัฒนาด้วยภาษา python
» อีก 15 วันจะต้องถวายรายงาน แต่โปรแกรมมีปัญหา จึงได้มีโอกาสเข้าไปช่วยเหลืองานกรมฝนหลวง ตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญท่านดังกล่าวได้เกษียรอายุราชการแล้ว




MSU-CCTV

» msu-cctv
กิจกรรม