สัปดาห์ที่ 1 : แนะนำรายวิชา 1202 102 สารสนเทศเพื่อการผลิตสื่อวิดีทัศน์ (Information for Video Production)

วัตถุประสงค์
   1. มีความเข้าใจในหลักการ กระบวนการ การผลิตสื่อวิดีทัศน์และการนําไปใช้
   2. มีทักษะในการเตรียม การวางแผน การผลิตสื่อวิดีทัศน์และการนําไปใช้
   3. นิสิตสามารถพัฒนาชิ้นงานวิดีทัศน์ ต่อไปนี้
       ก) การผลิตโคฟเวอร์เพลงทำงานกลุ่ม 2-3 คนต่อกลุ่ม ( 6 คะแนน )
       ข) การผลิตข่าวด้วยเทคนิคห้องสตูดิโอเสมือนงานเดี่ยว 1 เรื่อง (3 คะแนน)
       ค) การผลิตโครงงานวีดิทัศน์ งานเดี่ยว (6 คะแนน)

ตัวอย่าง: ปฐมนิเทศสารสนเทศศาสตร์ มมส 2566

» ถ่ายภาพด้วยกล้อง GoPro Max 360 -> รีเฟรม (reframe) -> โปรแกรมตัดต่อ -> เรนเดอร์ผลงานเป็นไฟล์วีดีโอนามสกุล .mp4

ตัวอย่าง: พิธีอัญเชิญท้าวมหาพรหมขึ้นประดิษฐาน คณะวิทยาการสารสนเทศ มมส 2566

» ถ่ายภาพด้วยกล้อง GoPro Max 360 -> รีเฟรม (reframe) -> โปรแกรมตัดต่อ -> เรนเดอร์ผลงานเป็นไฟล์วีดีโอนามสกุล .mp4

ตัวอย่างโครงงานการผลิตโคฟเวอร์เพลง

» โคฟเวอร์เพลงขอบใจเด้อ

ตัวอย่างโครงงานรายวิชาสารสนเทศเพื่อการผลิตสื่อวิดีทัศน์

»  ทองเหลืองบ้านปะอาว

เทคโนโลยีแปลงข้อความเป็นเสียง (Text to speech)

» ทดสอบการใช้งานที่:  http://dsdi.msu.ac.th/index.php?article=tts
» วาจา 9: https://aiforthai.in.th/service_ts.php

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการผลิตสื่อวิดีทัศน์

»  ในปี พ.ศ. 2530 ได้มีการบัญญัติคำว่า "วีดิทัศน์" แทนคำว่า Video
»  วีดิทัศน์ นำเสนอข้อมูลในรูปของภาพ เสียงและภาพเคลื่อนไหว
»  ในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์กราฟิกและสเปเชียลเอฟเฟ็กต์มาใช้เพื่อผลิตวีดิทัศน์ช่วยให้สามารถสร้างภาพที่มีความสมจริงและในจินตนาการได้

ระบบวิดีโอที่ใช้ในระบบโทรทัศน์

มาตรฐานสัญญาณภาพ
1) NTSC (The National Television Standard Committee) พัฒนาในปี ค.ศ. 1954 โดยหน่วยงาน FCC (Federal Communications Commission) โดยกำหนดจำนวนเส้นแนวนอน 525 เส้น และเส้นแนวตั้ง 60 เส้น ความเร็ว 30 ภาพต่อวินาที (fps) ใช้ในประเทศที่ใช้ระบบไฟฟ้าแบบ 110 โวลท์/60 เฮิร์ท
2) PAL (Phase Alternating Line) พัฒนาในปี ค.ศ. 1963 โดยวิศวกรเยอรมันชื่อ Walter Bruch โดยกำหนดเส้นแนวนอน 625 เส้น และเส้นแนวตั้ง 50 เส้น จำนวน 25 เฟรมต่อวินาที (fps) โดยแยกสัญญาณภาพและเสียงออกจากกัน ใช้ในประเทศที่ใช้ระบบไฟฟ้าแบบ 220 โวลท์/50 เฮิร์ท
3) SECAM (Syst่me Electronique Pour Couleur Avec Mmoire ) พัฒนาจากฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1967 มีจำนวนเส้นแนวนอน 625 เส้นและเส้นแนวตั้ง 50 เส้น จำนวน 25 เฟรมต่อวินาที (fps) ต่างจากระบบ PAL คือ การส่งสัญญาณมีได้หลายแบบทำให้จำนวนช่องลดลง ระบบ SECAM ไม่ค่อยได้รับความนิยม

วีดีโอ Alpha Channel
วีดีโอ Alpha channel คือ วีดีโอที่มีข้อมูลที่ใช้กำหนดค่าความโปร่งใส (Transparent)  

อุปกรณ์ในการผลิตสื่อวีดีทัศน์

กล้องถ่ายวีดีโอ
กล้องถ่ายวีดีโอแบ่งเป็น 2 ประเภท 
1) ระบบลิเนียร์ (Linear) เป็นระบบอนาล็อก ใช้เทป DV, Mini DV และ HDV เวลานำภาพเข้าคอมพิวเตอร์จะใช้ Video Capture  แบ่งได้ ดังนี้
   - กล้องวีดีโอระบบ VHS เป็นม้วนเทปวีดีโอ
   - กล้องถ่ายวีดีโอระบบ 8mm (ใช้เทปขนาด 8mm)
   - กล้องวีดีโอใช้ม้วนเทป ระบบ Hi8 คุณภาพสูงกว่า 8mm
2) ระบบนอนลีเนียร์ (Non Linear) สามารถเข้าถึงช่วงใด ๆ ภายในวีดีโอได้ กล้องวีดีโอแบบดิจิทัล ในปัจจุบันมีคุณภาพสูงมาก บันทึกลงบน Flash Drive, SD Card, Harddisk คุณภาพระดับ Full HD (1920x1080p) ถึง 4K


เทคโนโลยีกล้อง
»  Nikon coolpix P900 83x -> https://www.youtube.com/watch?v=mfshAzV0FN4
»  บริษัท Bigpixel จากประเทศจีนสามารถเก็บภาพ 360 องศาความละเอียดสูง 195 Giga Pixel โดยถ่ายภาพจากที่สูง เช่น ตึก Oriental Pearl Tower ในเซียงไฮ้ เป็นต้น
	- http://sh-meet.bigpixel.cn/?from=groupmessage&isappinstalled=0
	- http://www.bigpixel.cn/t/57ecedae64b1bf2050ab00c2
	- http://www.bigpixel.cn/t/5834170785f26b37002af46a
	- http://www.bigpixel.cn/t/5834170785f26b37002af46d
	- http://www.bigpixel.cn/t/5834170785f26b37002af474
»  DJI OSMO Pocket vs GoPro -> https://www.youtube.com/watch?v=IFEC8P7wq8k
»  Motorized Camera Dolly 
	- https://www.youtube.com/watch?v=gZ6uZe2hlic
	- https://www.youtube.com/watch?v=T_2frW2v2cE
»  Robot Arm
	- https://youtu.be/-e0737WqWIk
	- https://www.youtube.com/watch?v=HRvnYmxcMOY
	- https://www.youtube.com/watch?v=LyKzTU6Aqb8
	- https://www.youtube.com/watch?v=i85aIVKaWOE


»  Camera crane -> https://www.youtube.com/watch?v=3FxwcKO2JOw
»  Camera drone -> https://www.youtube.com/watch?v=BltSUfCtCic


วีดีโอ 360 องศา

» การถ่ายภาพวีดีโอ 360 องศาเป็นการบันทึกภาพรอบทิศทาง โดยขนาดไฟล์จะใหญ่กว่าวีดีโอปกติ

ภาพกราฟิกแบบราสเตอร์และเวคเตอร์

การแบ่งภาพแบ่งเป็น 2 แบบ คือ 1) ราสเตอร์ (Raster) 2) เวกเตอร์ (Vector)
» ภาพกราฟิกราสเตอร์ (Raster graphic) หรือภาพบิตแมป (อังกฤษ: bitmap) หรือ คือภาพที่ประกอบด้วยจุดสีต่างๆที่มีจำนวนคงที่ตายตัว มีข้อดีคือ เหมาะกับภาพที่ต้องการระบายสี สร้างสี กำหนดสีที่ต้องการความละเอียดได้ง่าย ข้อเสีย คือเมื่อมีจุดสีที่คงที่นั่น ทำให้เวลาขยายภาพนั้นจะมีความละเอียดน้อยลงมาก
» ภาพกราฟิกส์เวกเตอร์ (Vector graphics) โดยทั่วไปคือคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ที่เกิดจากการกำหนดพิกัดและการคำนวณค่าบนระนาบสองมิติ รวมทั้งมุมและระยะทาง ตามทฤษฎีเวกเตอร์ในทางคณิตศาสตร์ ในการก่อให้เกิดเป็น เส้น หรือรูปภาพ ข้อดีคือ สามารถย่อขยายได้ โดยคุณภาพไม่เปลี่ยนแปลง ข้อเสียคือภาพไม่เหมือนภาพจริงเป็นได้เพียงภาพวาด

เทคนิคกล้อง

»  Pan คือ การกวาดกล้องแนวระนาบ 
»  Tilt คือ การกวาดกล้องแนวตั้ง 
»  Fixed คือ การตั้งกล้องนิ่ง 
»  Zoom คือ การย่อ/ขยาย
»  Depress คือ การยกกล้องขึ้นลงตามวัตถุ 
»  Track คือ การติดตามวัตถุ (in/out/left/right) 7) Dolly ถ่ายจุดเดิมและเคลื่อนกล้องเป็นแนวโค้ง
»  High Angle Shot (HAS) คือ การถ่ายภาพมุมสูง

การลำดับภาพและการตัดต่อภาพ (SEQUENCE OF SHOT)

การลำดับภาพและตัดต่อภาพ คือ การนำ Shot ต่าง ๆ มาเรียงลำดับเป็นเรื่องราว เพื่อถ่ายทอดความคิดและเนื้อหาออกมา
1) ภาพและวีดีโอ
»  Establishing shot ใช้บอกสถานที่ส่วนใหญ่ใช้เปิดเรื่อง ขนาดภาพที่ใช้นิยมเป็นภาพระยะไกล (LS) 
»  Cut-in Shut ใช้ขยายรายละเอียดวัตถุ บุคคล สถานที่ให้ชัดเจน
»  Cut away shot ใช้เสริมบรรยากาศและความรู้สึกให้เหตุการณ์ที่นำเสนอไปแล้วเพื่อเบนความสนใจจาก shot ที่ผ่านมา ใช้เปลี่ยนฉากหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ
»  Action shot แสดงเหตุการณ์ของตัวละครอีกตัวหนึ่ง
»  Reverse shot แสดงบุคคลที่กำลังเผชิญหน้ากัน

2) การวางลำดับของภาพและวีดีโอ
»  Narrative cutting คือ การวางภาพตามลำดับเวลา
»  Cross cutting คือ การนำเหตุการณ์หลายเหตุการณ์มาทำให้เกิดเป็นเหตุการณ์เดียว
»  Parallel cutting คือ การวางลำดับภาพที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันต่างเวลาสลับไปมาเพื่อเปรียบเทียบ
»  Dynamic cutting คือ การลำดับเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อกัน
»  Montage cutting คือ การลำดับภาพโดยเหตุการณ์ไม่เกี่ยวเนื่องกันเพื่อเล่าเหตุการณ์หรือสรุป

3) ช่วงเวลาและความยาวของแต่ละ Shot (duration)
»  การเชื่อมโยงระหว่าง shot คือ ให้เหตุการณ์จบลงแล้วจึงเปลี่ยน shot
»  เหตุการณ์เคลื่อนไหว shot แรกยังไม่จบแล้วเปลี่ยนเป็น shot 2 ใช้สำหรับสร้างอารมณ์ฉับพลันน่าตื่นเต้น
»  Cut on action คือ เชื่อมโยง shot ให้มีความกลมกลืนต่อเนื่อง
»  Straight cut คือ เชื่อมโยง shot แบบเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทำให้รู้สึกเป็นธรรมชาติ นิยมใช้ในภาพยนต์และโทรทัศน์มากสุด

4) การ Fade 
»  Fade in คือ เริ่มจากมืดหรือเบลอเป็นภาพที่ชัด นิยมใช้ตอนเริ่มต้นเรื่องราวหรือวันใหม่
»  Fade ou คือ ค่อย ๆ เบลอหายไป ใช้เพื่อจบเรื่องของเหตุการณ์ 

5) Dissolve คือ ระหว่างที่ fade in จะมี fade out ตามมาทันทึเพื่อบอกความเกี่ยวเนื่องของเหตุการณ์ 

6) WIPE คือ นำภาพใหม่แทนที่ภาพเดิม เช่น การเปิดม่านเวทีละคร 
»  การกวาดภาพแนวนอน จากซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้าย
»  การกวาดภาพขึ้นลง 
»  การกวาดภาพแนวเฉียง 
»  การกวาดภาพรูปทรงเรขาคณิต เช่น วงกลม สามเหลี่ยม

เสียงสำหรับวิดีทัศน์

กูเกิ้ลได้เตรียมไลบรารี่เสียงที่ใช้งานได้ฟรีโดยไม่เสียค่าลิขสิทธิ์ โดยให้นิสิตไปยังเว็บ youtube.com จากนั้นล็อกอินเข้าระบบด้วย user/password และคลิ๊กที่ลิงค์ต่อไปนี้
https://www.youtube.com/audiolibrary/music?o=U&ar=3

คอมพิวเตอร์กราฟิกสำหรับการผลิตสื่อวิดีทัศน์

»  คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้างภาพจากการที่ไม่มีภาพนั้นอยู่จริง เช่น การสร้างโมเดลสามมิติ ได้แก่ โปรแกรม Blender, 3d Max, Maya, ฯลฯ
»  อิมเมจโปรเซสซิ่ง หมายถึง การมีภาพอยู่แล้วจากนั้นนำภาพเหล่านั้นมาผ่านกระบวนการบางอย่างเพื่อให้ได้เป็นภาพใหม่ออกมา
»  วิชวลเอ็ฟเฟ็กส์ คือ การนำคอมพิวเตอร์กราฟิกและอิมเมจโปรเซสซิ่งเพื่อสร้างเอ็ฟเฟ็กส์ต่าง ๆ ให้กับภาพหรือภาพเคลื่อนไหว

ตัวอย่าง Special Effects
»  Baahubali - The Beginning | VFX Breakdowns 
»  การสร้างโมเดลสัตว์และใส่การเคลื่อนไหว VFX โดย MPC 
»  MPC World War Z VFX 
»  Battle Angel
»  Boston Dynamics Fake Robot: VFX Before & After Reveal

เทคนิคการตัดพื้นหลัง Chroma key

» ปัจจุบันมีการนำเทคนิคการตัดพื้นหลังด้วย Chroma key อย่างกว้างขวาง ดังนี้

เทคโนโลยีการบีบอัดไฟล์วีดีโอ H.264 และ H.265

» การเข้ารหัสวีดีโอขั้นสูง H.264 (AVC : Advanced Video Coding)
» การเข้ารหัสวีดีโอล้ำหน้า H.265 (HEVC : High Efficiency Video Coding)
- ในปี ค.ศ. 2012 องค์กร ITU-T Video Coding Experts Group (VCEG) ได้พัฒนาการบีบอัดวีดีโอ H.265 (HEVC : Hight Effecient Video Coding) เป็นการพัฒนาต่อจาก H.264 
- H.256 สามารถบีบอัดได้ 2 เท่าของ H.264 

ประเภทการบีบอัดข้อมูล

การบีบอัดข้อมูลแบ่งเป็น 
1. Lossless Compression คือ การเข้ารหัสและถอดรหัสโดยข้อมูลจะไม่สูญหาย ได้แก่ ก) Entropy ข) RLE (Run Length Encoding) ค) Huffman Coding ง) Arithmetic Coding จ) LZW (Lempel-Ziv-Welsh Coding) ฯลฯ
2. Lossy Compression คือ การเข้ารหัสและถอดรหัสแล้วมีข้อมูลบางส่วนหายไป ได้แก่ ก) Transform Coding ข) Psycho-Analysis ค) Interface Correlation (การใช้ JPEG มาบีบอัดวีดีโอ) ง) Fractal ฯลฯ
มาตรฐานการบีบอัดข้อมูลแบบ MPEG
- MPEG (Motion Picture Expert Group) สำหรับบีบอัดเสียงและวีดีโอ ประกอบด้วย 
  ก) MPEG-1 Audio (MP1, MP2, MP3) และ MPEG-1 Video
  ข) MPEG-2 Audio และ MPEG-2 Video
  ค) MPEG-4 เป็นการซ้อนเสียงและวีดีโอ (Video Object Plane : VOP)

กิจกรรม .1: การติดตั้งโปรแกรม Filmora และ Effect

» ลิงค์เต็ม -> https://dsdi.msu.ac.th/data/articles/multimedia/softs/filmora/filmora.rar

การติดตั้ง Filmora

 การติดตั้ง Filmora

กิจกรรม 2: การตัดต่อวีดีโอเบื้องต้น

» ดาวน์โหลดไฟล์วีดีโอ  ที่นี่
» เปิด filmora -> นำวีดีโอไปวางบน timeline -> 
  1) ใส่ transition ระหว่างคลิป
  2) วางเสียงเพลง .mp3  ดาวน์โหลดที่นี่ 
ปิดเสียง -> ใส่ไตเติ้ล -> 
  3) Export -> ตั้งชื่อไฟล์

กิจกรรม 3: การตัดพื้นหลัง chroma key และปรับระดับความสว่างวีดีโอ

» ดาวน์โหลดตัวละครฉากเขียว  ที่นี่
» ดาวน์โหลดพื้นหลัง มมส  ที่นี่
» เปิด filmora -> วางพื้นหลัง -> วางตัวละคร -> ดับเบิ้ลคลิ๊กภาพตัวละคร เลือก chroma key เลือกสีพื้นสีเขียว
» ดับเบิ้ลคลิ๊กเลือกปรับสี color -> ปรับความสว่าง ให้สวยงาม 
» ใส่ ไตเติ้ลและทรานซิชั่น
» Export -> ตั้งชื่อไฟล์

กิจกรรม 4: การใส่โลโก้มุมบนขวาให้วีดีโอ

» ดาวน์โหลดโลโก้ในอินเตอร์เน็ต 
» ดาวน์โหลดพื้นหลัง 
» เปิด filmora -> วางพื้นหลัง -> วางตัวละคร -> ดับเบิ้ลโลโก้ เลือก chroma key เลือกสีพื้นสีเขียว
» ดับเบิ้ลคลิ๊กเลือกปรับสี color -> ปรับความสว่าง ให้สวยงาม 
» ใส่ ไตเติ้ลและทรานซิชั่น
» Export -> ตั้งชื่อไฟล์

กิจกรรม 5: การดาวน์โหลดวีดีโอฉากเขียวมาใส่พื้นหลังและไตเติ้ล

» ให้ค้นวีดีโอฉากเขียวใน youtube.com
» ให้ดาวน์โหลดวีดีโอด้วยเว็บ https://www.y2mate.com/
» นำวีดีโอมาใส่ Filmora
» หาภาพพื้นหลังมาใส่และตัดพื้นหลังด้วย chroma keying
» ปรับสีของภาพตามเหมาะสม
» ใส่ไตเติ้ลให้วีดีโอ
» Export -> ตั้งชื่อไฟล์

รายชื่อนิสิตส่งงาน

idw01-01-sitinw01-lab1-4w01-01-sitinw01-lab1-4w01-late-1w
66011210001 1 1 1 1 0
66011210002 1 1 1 1 0
66011210003 1 1 1 1 0
66011210004 1 1 1 1 0
6601121000500000
66011210006 1 1 1 1 0
66011210007 1 1 1 1 0
66011210010 1 1 1 1 0
66011210011 1 1 1 1 0
66011210012 1 1 1 1 0
66011210013 1 1 1 1 0
66011210015 1 1 1 1 0
66011210016 1 1 1 1 0
66011210017 1 1 1 1 0
66011210018 1 1 1 1 0
66011210020 1 1 1 1 0
66011210021 1 1 1 1 0
66011210022 1 1 1 1 0
66011210023 1 1 1 1 0
66011210024 1 1 1 1 0
66011210025 1 1 1 1 0
66011210026 1 1 1 1 0
66011210027 1 1 1 1 0
66011210029 1 1 1 1 0
66011210030 1 1 1 1 0
66011210031 1 1 1 1 0
66011210033 1 1 1 1 0
66011210035 1 1 1 1 0
66011210036 1 1 1 1 0
66011210037 1 1 1 1 0
66011210038 1 1 1 1 0
66011210039 1 1 1 1 0
66011210040 1 1 1 1 0
66011210042 1 1 1 1 0
66011210044 1 1 1 1 0
6601121004500000
66011210046 1 1 1 1 0
66011210047 1 1 1 1 0
66011210048 1 1 1 1 0
66011210049 1 1 1 1 0
66011210050 1 1 1 1 0
66011210051 1 1 1 1 0
6601121005300000
66011210055 1 1 1 1 0
66011210056 1 1 1 1 0
6601121006000000
6601121006200000
6601121006700000
6601121007200000
6601121007600000
65011210020 1 1 1 1 0
6501121002100000
6501121005200000
65011210057 1 1 1 1 0
65011210058 1 1 1 1 0
66011210008 1 1 1 1 0
66011210009 1 1 1 1 0
66011210028 1 1 1 1 0
66011210034 1 1 1 1 0
6601121004100000
6601121004300000
6601121005400000
66011210057 1 1 1 1 0
66011210058 1 1 1 1 0
6601121005900000
6601121006100000
6601121006300000
6601121006400000
66011210065 1 1 1 1 0
66011210066 1 1 1 1 0
66011210069 1 1 1 1 0
66011210070 1 1 1 1 0
6601121007100000
66011210073 1 1 1 1 0
66011210074 1 1 1 1 0
66011210075 1 1 1 1 0
66011210077 1 1 1 1 0
66011210078 1 1 1 1 0
6601121007900000
6601121008000000
66011210082 1 1 1 1 0
66011210081 1 1 1 1 1
วิชา 1202 102 สารสนเทศเพื่อการผลิตสื่อวิดีทัศน์ (Information for Video Production)