องค์ประกอบพื้นฐานของโปรแกรมภาษาไพธอน (python)

» การเขียนคำสั่ง
» การเขียนหมายเหตุ
» เครื่องหมายดำเนินการ บวก ลบ คูณ หาร ยกกำลัง
» ตัวแปรลีสต์
» การเข้าถึงสมาชิกภายในตัวแปรลีสต์
» การเข้าถึงสมาชิกภายในลีสต์แบบระบุช่วงที่ต้องการ
» การเรียงลำดับจากน้อยไปมากด้วยคำสั่ง sort()
» การกำจัดข้อมูลในตัวแปรลีสต์ที่ซ้ำกันทิ้งไป
» การหาค่าสูงสุดและต่ำสุดในตัวแปรลีสต์
» การหาจำนวนสมาชิกภายในตัวแปรลีสต์
» การนับจำนวนข้อมูลในตัวแปรลีสต์
» การคำนวณผลรวมภายในตัวแปรลีสต์
» การคำนวณค่าเฉลี่ยของตัวแปรลีสต์
» การรับค่าจากคีย์บอร์ด
» การพล็อตกราฟค่าตัวเลขภายในตัวแปรลีสต์
» กิจกรรม 1 : ให้นิสิตเขียนโปรแกรมคำนวณพื้นที่สี่เหลี่ยมโดยรับค่าความกว้างและความสูงจากผู้ใช้และแสดงผลลัพธ์พื้นที่สี่เหลี่ยม
» กิจกรรม 2 : ให้นิสิตเขียนโปรแกรมคำนวณพื้นที่สามเหลี่ยมโดยรับค่าความกว้างและความสูงจากผู้ใช้จากนั้นแสดงผลลัพธ์พื้นที่สามเหลี่ยม
» กิจกรรม 3 : ให้นิสิตเขียนโปรแกรมคำนวณพื้นที่วงกลมโดยรับค่ารัศมีจากผู้ใช้จากนั้นแสดงผลลัพธ์พื้นที่วงกลม
» กิจกรรม 4 : ให้นิสิตเขียนโปรแกรมคำนวณพื้นที่หลายเหลี่ยมด้านเท่าโดยรับค่าจำนวนด้านจากผู้ใช้และแสดงผลลัพธ์พื้นที่หลายเหลี่ยม
» กิจกรรม 5 : ให้นิสิตเขียนโปรแกรมคำนวณปริมาตรทรงกระบอกโดยรับค่ารัศมีและความสูงจากผู้ใช้ จากนั้นแสดงผลลัพธ์
» กิจกรรมที่ 6 : ให้นิสิตเขียนโปรแกรมคำนวณปริมาตรกรวยโดยรับค่าความสูงและรัศมี จากนั้นแสดงผลลัพธ์
» กิจกรรมที่ 7 : ให้นิสิตเขียนโปรแกรมคำนวณปริมาตรทรงรี โดยรับค่าความยาวแกน x y และ z จากนั้นแสดงผลลัพธ์ปริมาตรทรงรี
» กิจกรรมที่ 8 : ให้นิสิตเขียนโปรแกรมคำนวณค่าเฉลี่ยโดยกำหนดค่าข้อมูลอย่างน้อยมีสมาชิกมากกว่า 5 ตัว จากนั้นแสดงผลลัพธ์ค่าเฉลี่ย
 » กิจกรรมที่ 9 : ให้นิสิตกำหนดค่าตัวแปรลีสต์โดยมีสมาชิกอย่างน้อย 20 ตัว จากนั้นเขียนโปรแกรมเพื่อเรียงข้อมูลจากน้อยไปหามากและแสดงผลลัพธ์
» กิจกรรมที่ 10 : ให้นิสิตใช้ข้อมูลจากกิจกรรม 9 จากนั้นเขียนโปรแกรมเพื่อเรียงลำดับจากมากไปน้อยและแสดงผลลัพธ์
» กิจกรรมที่ 11 : ให้นิสิตใช้ข้อมูลจากกิจกรรม 9 โดยให้ลบสมาชิกตำแหน่งที่ 0 และตำแหน่งสุดท้ายทิ้งไป จากนั้นพิมพ์ผลลัพธ์
» กิจกรรม 12 : ให้นิสิตใช้ข้อมูลจากกิจกรรม 9 จากนั้นให้เพิ่มตัวเลขอะไรก็ได้ต่อท้ายตัวแปรลีสต์ จากนั้นพิมพ์ผลลัพธ์
» กิจกรรมที่ 13 : ให้นิสิตใช้ข้อมูลจากกิจกรรม 9 โดยเลือกเอาสมาชิกตำแหน่งที่ 3 ไปถึงตำแหน่งสุดท้ายออกมาแสดงเป็นผลลัพธ์
» กิจกรรมที่ 14 : ให้นิสิตใช้ข้อมูลจากกิจกรรม 9 มาใช้ในการพล็อตกราฟแท่งและแสดงผลลัพธ์
» กิจกรรมที่ 15 : ให้นิสิตกำจัดข้อมูลที่ซ้ำกันในรายการลีสต์ทิ้งไป โดยใช้ข้อมูลจากกิจกรรม 9 จากนั้นแสดงผลลัพธ์
» แบบฝึกหัดท้ายบท

การเขียนคำสั่ง

การเขียนคำสั่ง
1. การเขียนคำสั่งสามารถเขียนต่อไปเรื่อย ๆ ในบรรทัดเดียวกันได้และคั่นด้วยเครื่องหมาย semi colon (;)
2. การเขียนคำสั่งสามารถเขียนทีละบรรทัดได้ โดยจะปิดท้ายด้วย semi colon (;) หรือไม่ก็ได้
python statement; python statement

# หรือ

python statement
python statement
python statement
3) การเขียนคำสั่งย่อหน้าต้องตรงกัน
พิจารณาโค๊ดต่อไปนี้ และบอกข้อผิดพลาดว่าเกิดจากอะไร 
a = 3
 b= 2
c=a+b
print(a,b,c)
การเขียนคำสั่งด้วยการเว้นระยะย่อหน้าคำสั่ง
ดิน = "แห้ง"
if ดิน == "แห้ง":
    print("รดน้ำต้นไม้")
else:
    print("ไม่ต้องทำอะไร")

การเขียนหมายเหตุ

การเขียนหมายเหตุ (Comment) เป็นการเขียนข้อความลงในซอร์สโค๊ดของโปรแกรม นิยมเขียนเพื่ออธิบายความหมายภาย โดยที่หมายเหตุจะไม่ถูกนำไปประมวลผล
การเขียนหมายเหตุด้วยภาษาไพธอน ใช้เครื่องหมาย # (sharp) ไว้ด้านหน้าข้อความที่ต้องการ เช่น
# นี่คือหมายเหตุ เขียนไว้ในโปรแกรม
a = 34,000		# ตัวแปร a ใช้เก็บเงินเดือน
print(a)		# แสดงค่าเงินเดือนในตัวแปร a ออกมา
ให้นิสิตเขียนผลลัพธ์ของโค๊ดต่อไปนี้
a = 3
b = 2
c = 3.14
d = 2.71
e = "Google"
f = "Youtube"
print("%d %d %f %f %s %s"%(a,b,c,d,e,f))
ให้นิสิตเขียนผลลัพธ์ของโค๊ดต่อไปนี้
a = 3
b = 2
c = 3.14
d = 2.71
e = "Google"
f = "Youtube"
#print("%d %d %f %f %s %s"%(a,b,c,d,e,f))

ตัวแปรลีสต์

อาร์เรย์ คือ การประกาศตัวแปรด้วยชื่อเดียวกันและเข้าถึงสมาชิกด้วยหมายเลขดัชนี (index)
การประกาศตัวแปรลีสต์ใช้เครื่องหมาย square brackets หรือ box brackets ([ ]) เปิดปิดมีรูปแบบคือ ชื่อตัวแปร  = [ ข้อมูล, ข้อมูล, ข้อมูล ...  ] 
นักเรียนสูง = [ 162, 173, 180, 159, 167, 156, 164 ]
print(นักเรียนสูง)
จากตัวอย่างด้านบน ตอบคำถามต่อไปนี้
» ตัวแปรทั้งหมดมีอยู่กี่ตัว ? ก) 1 ตัว ข) 7 ตัว ค) 8 ตัว ง) ไม่มีตัวแปรเลย
» ตัวแปรถูกตั้งชื่อว่าอะไร ? ...................................
» ตัวแปรมีชนิดเป็นอะไร ? ก) จำนวนเต็ม (Integer) ข) ทศนิยม (Floating Point) ค) สตริง (String) ง) ลีสต์ (List) จ) ถูกทุกข้อ
» ตัวแปรมีสมาชิกทั้งหมดกี่ตัว ? ก) 6 ตัว ข) 7 ตัว ค) 8 ตัว ง) ไม่มีสมาชิกเลย

การเข้าถึงสมาชิกภายในตัวแปรลีสต์

นักเรียนสูง = [160, 159, 161, 177, 151, 174, 175, 175, 174, 161]
print(นักเรียนสูง)
จากตัวอย่างด้านบน ตอบคำถามต่อไปนี้
» ตัวแปรทั้งหมดมีอยู่กี่ตัว ? ...................................
» ตัวแปรถูกตั้งชื่อว่าอะไร ? ...................................
» ตัวแปรมีชนิดเป็นอะไร ? ก) จำนวนเต็ม (Integer) ข) ทศนิยม (Floating Point) ค) สตริง (String) ง) ลีสต์ (List) จ) ถูกทุกข้อ
» ตัวแปรมีสมาชิกทั้งหมดกี่ตัว ? ........................
» print(นักเรียนสูง[0]) ผลลัพธ์คือ ? ..........................
» print(นักเรียนสูง[1]) ผลลัพธ์คือ ? ..........................
» print(นักเรียนสูง[2]) ผลลัพธ์คือ ? ..........................
» print(นักเรียนสูง[3]) ผลลัพธ์คือ ? ..........................
» print(นักเรียนสูง[-1]) ผลลัพธ์คือ ? ..........................
» print(นักเรียนสูง[-2]) ผลลัพธ์คือ ? ..........................
» print(นักเรียนสูง[-3]) ผลลัพธ์คือ ? ..........................

การเข้าถึงสมาชิกภายในลีสต์แบบระบุช่วงที่ต้องการ

การเข้าถึงช่วงของตัวแปรลีสต์ ใช้เครื่องหมาย [ ตำแหน่งเริ่มต้น : ตำแหน่งสุดท้าย+1 ] เช่น
z = ["Google", "Gmail", "Youtube", "Classroom", "Map", "Doc"]
print(z[1:4])   # ผลลัพธ์ คือ ["Gmail", "Youtube", "Classroom"]
print(z[0:5])   ผลลัพธ์ คือ ........................
print(z[1:5])   ผลลัพธ์ คือ ........................
print(z[3:5])   ผลลัพธ์ คือ ........................
print(z[5:-1])  ผลลัพธ์ คือ ........................
print(z[5:-2])  ผลลัพธ์ คือ ........................
print(z[5:-3])  ผลลัพธ์ คือ ........................

พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้

นักเรียน_IS = [161, 149, 158, 149, 132, 165]
นักเรียน_CS = [161, 179, 140, 143, 180, 152, 154, 162, 153, 144, 179, 124]
นักเรียน_ICT = [162, 159, 157, 141, 164, 172, 148, 156]
นักเรียนรวม = [ นักเรียน_IS, นักเรียน_CS, นักเรียน_ICT ]
จากตัวอย่างด้านบน ตอบคำถามต่อไปนี้
ตัวแปรมีทั้งหมดกี่ตัว อะไรบ้าง ? ..............................
print(นักเรียน_IS[0]) ผลลัพธ์คือ ..............................
print(นักเรียน_IS[2]) ผลลัพธ์คือ ..............................
print(นักเรียน_IS[4]) ผลลัพธ์คือ ..............................
print(นักเรียน_IS[-1]) ผลลัพธ์คือ ..............................
print(นักเรียน_IS[-2]) ผลลัพธ์คือ ..............................
print(นักเรียน_IS[-3]) ผลลัพธ์คือ ..............................
print(นักเรียนรวม[0]) ผลลัพธ์คือ ..............................
print(นักเรียนรวม[1]) ผลลัพธ์คือ ..............................
print(นักเรียนรวม[2]) ผลลัพธ์คือ ..............................
print(นักเรียนรวม[-1]) ผลลัพธ์คือ ..............................
print(นักเรียนรวม[-2]) ผลลัพธ์คือ ..............................
print(นักเรียนรวม[0][0]) ผลลัพธ์คือ ..............................
print(นักเรียนรวม[0][1]) ผลลัพธ์คือ ..............................
print(นักเรียนรวม[0][2]) ผลลัพธ์คือ ..............................
print(นักเรียนรวม[0][-1]) ผลลัพธ์คือ ..............................
print(นักเรียนรวม[0][-2]) ผลลัพธ์คือ ..............................
print(นักเรียนรวม[1][0]) ผลลัพธ์คือ ..............................
print(นักเรียนรวม[1][1]) ผลลัพธ์คือ ..............................
print(นักเรียนรวม[1][2]) ผลลัพธ์คือ ..............................
print(นักเรียนรวม[1][-1]) ผลลัพธ์คือ ..............................
print(นักเรียนรวม[1][-2]) ผลลัพธ์คือ ..............................
print(นักเรียนรวม[2][0]) ผลลัพธ์คือ ..............................
print(นักเรียนรวม[2][1]) ผลลัพธ์คือ ..............................
print(นักเรียนรวม[2][2]) ผลลัพธ์คือ ..............................
print(นักเรียนรวม[2][-1]) ผลลัพธ์คือ ..............................
print(นักเรียนรวม[2][-2]) ผลลัพธ์คือ ..............................

การเรียงลำดับจากน้อยไปมากด้วยคำสั่ง sort()

คำสั่ง sort() สำหรับเรียงลำดับตัวแปรลีสต์จากน้อยไปมาก

พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้

นักเรียน_IS = [161, 149, 158, 149, 132, 165]
print(นักเรียน_IS)
นักเรียน_CS = [161, 179, 140, 143, 180, 152, 154, 162, 153, 144, 179, 124]
print(นักเรียน_CS)
นักเรียน_ICT = [162, 159, 157, 141, 164, 172, 148, 156]
print(นักเรียน_ICT)

นักเรียน_IS.sort()
print(นักเรียน_IS) 
# ผลลัพธ์ คือ ..............................

นักเรียน_CS.sort()
print(นักเรียน_CS)
# ผลลัพธ์ คือ ..............................

นักเรียน_ICT.sort()
print(นักเรียน_ICT)
# ผลลัพธ์ คือ ..............................
print(นักเรียน_ICT[0])
print(นักเรียน_ICT[1])
print(นักเรียน_ICT[2])
print(นักเรียน_ICT[-1])
print(นักเรียน_ICT[-2])

การกำจัดข้อมูลในตัวแปรลีสต์ที่ซ้ำกันทิ้งไป

คำสั่ง set() ใช้สำรับการกำจัดข้อมูลซ้ำซ้อนทิ้งไปให้เหลือเพียงค่าเดียว 

พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้

m = [3, 3, 2, 1, 5, 2, 2, 1, 4, 2]
n = list(set(m))
print(n)
จากตัวอย่างด้านบน คำสั่ง set() จะลบข้อมูลที่ซ้ำซ้อนทิ้งไป ส่วนคำสั่ง list() ครอบด้านหน้าคำสั่ง set() หมายถึงการแปลงตัวแปรจาก set ให้เปลี่ยนเป็นตัวแปรลีสต์

การหาค่าสูงสุดและต่ำสุดในตัวแปรลีสต์

คำสั่ง max() และ min() เป็นการหาค่าสูงสุดและต่ำสุด

พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้

m = [3, 3, 2, 1, 5, 2, 2, 1, 4, 2]
print(max(m))  # ผลลัพธ์ คือ .............
print(min(m))  # ผลลัพธ์ คือ .............
จากตัวอย่างด้านบน คำสั่ง max() ใช้สำหรับหาค่าสูงสุดในตัวแปรลีสต์ ส่วนคำสั่ง min() จะใช้หาค่าต่ำสุดในตัวแปรลีสต์

การหาจำนวนสมาชิกภายในตัวแปรลีสต์

คำสั่ง len() ใช้สำหรับคำนวณหาจำนวนสมาชิกภายในตัวแปรลีสต์

พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้

m = [3, 3, 2, 1, 5, 2, 2, 1, 4, 2]
print(len(m))  # ผลลัพธ์ คือ .............
จากตัวอย่างด้านบน คำสั่ง len() ใช้สำหรับหาจำนวนสมาชิกภายในตัวแปรลีสต์ ซึ่งตัวแปร m มีสมาชิกทั้งหมด 10 ตัว

การนับจำนวนข้อมูลในตัวแปรลีสต์

คำสั่ง count() ใช้สำหรับนับจำนวนสมาชิกที่พบภายในตัวแปรลีสต์ 

พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้

m = [3, 3, 2, 1, 5, 2, 2, 1, 4, 2]
print(m.count(1))  # ผลลัพธ์ คือ .............
print(m.count(2))  # ผลลัพธ์ คือ .............
print(m.count(3))  # ผลลัพธ์ คือ .............
print(m.count(4))  # ผลลัพธ์ คือ .............
print(m.count(5))  # ผลลัพธ์ คือ .............
จากตัวอย่างด้านบน คำสั่ง count() ใช้สำหรับนับจำนวนข้อมูลที่อยู่ภายในตัวแปรลีสต์

พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้

m = ["Google", "Youtube", "Gmail", "Google", "gmail", "google"]
print(m.count("Google"))  # ผลลัพธ์ คือ .............
print(m.count("Gmal"))    # ผลลัพธ์ คือ .............
จากตัวอย่างด้านบน คำสั่ง count() ใช้สำหรับนับจำนวนข้อมูลที่อยู่ภายในตัวแปรลีสต์

การคำนวณผลรวมภายในตัวแปรลีสต์

คำสั่ง sum() ใช้สำหรับคำนวณผลรวมภายในตัวแปรลีสต์ ซึ่งข้อมูลที่อยู่ภายในลีสต์ต้องเป็นเลขจำนวนเต็มหรือทศนิยมเท่านั้น

พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้

m = [3, 3, 2, 1, 5, 2, 2, 1, 4, 2]
a = sum(m)
n = list(set(m))
print(n)   # ผลลัพธ์ คือ ....................
b = sum(n)
print(a)   # ผลลัพธ์ คือ ....................
print(b)   # ผลลัพธ์ คือ ....................
จากตัวอย่างด้านบน คำสั่ง sum() ใช้สำหรับคำนวณผลรวมภายในตัวแปรลีสต์

การคำนวณค่าเฉลี่ยของตัวแปรลีสต์

การคำนวณค่าเฉลี่ย คือ การนำผลรวมของสมาชิกทั้งหมด หารด้วยจำนวนสมาชิก พิจารณาโค๊ดต่อไปนี้

พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้

m = [3, 3, 2, 1, 5, 2, 2, 1, 4, 2]
z = sum(m)
n = len(m)
mean = z/n
print(mean)   # ผลลัพธ์ คือ ....................
จากตัวอย่างด้านบน การคำนวณค่าเฉลี่ยคือการนำผลรวมในตัวแปรลีสต์ และจำนวนสมาชิกในตัวแปรลีสต์มาหารกัน ดังนั้นค่าเฉลี่ยเท่ากับ sum(m)/len(m)

การรับค่าจากคีย์บอร์ด

คำสั่ง input() ใช้สำหรับรับค่าจากผู้ใช้ มีรูปแบบการใช้งานดังนี้

พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้

q = input("กรุณาป้อนเลขที่ท่านชอบ 2 ตัว จากนั้นกดแป้น Enter : ")
print("ค่าที่ท่านป้อนเข้ามาคือ %s"%(q))  # ผลลัพธ์ คือ ....................
จากตัวอย่างด้านบนคำสั่ง input() จะนำค่าที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามาเก็บไว้ในตัวแปร q ซึ่งมีชนิดเป็นสตริง แม้จะป้อนค่าเป็นตัวเลขแต่ตัวเลขเหล่านั้นมีชนิดเป็นตัวอักษร ยังไม่สามารถนำไปคำนวณได้ ต้องแปลงสตริงให้เป็นตัวแปรชนิดตัวเลขก่อนจึงจะสามารถนำไปใช้งานได้

พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้

r = input("กรุณาป้อนรัศมี : ")
R = 2 * 3.1415 * r
print("เส้นรอบวงกลมที่มีรัศมี %f หน่วย มีความยาวเท่ากับ %f หน่วย"%( r, R ))

พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้

r = input("กรุณาป้อนรัศมี : ")
r = float(r)
R = 2 * 3.1415 * r
print("เส้นรอบวงกลมที่มีรัศมี %f หน่วย มีความยาวเท่ากับ %f หน่วย"%( r, R ))
จากตัวอย่างด้านบนทำการรับค่ารัศมีจากผู้ใช้ จากนั้นนำมาแปลงตัวเลขทศนิยมจึงสามารถนำไปคำนวณสูตรเส้นรอบวงได้ หากไม่ทำการแปลงเป็นทศนิยมจะไม่สามารถนำไปคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้ เนื่องจากค่าที่รับจากคีย์บอร์ดมีชนิดเป็นสตริง

การพล็อตกราฟค่าตัวเลขภายในตัวแปรลีสต์

ให้นิสิตติดตั้งโปรแกรม Anaconda โดยดาวน์โหลดได้ที่  Anaconda3-2018.12-Windows-x86_64.exe
โปรแกรม matplotlib ใช้สำหรับการพล็อตกราฟ 
import matplotlib.pyplot as plt
data = [3, 3, 2, 1, 5, 2, 2, 1, 4, 2]
plt.bar(range(10), data)
plt.show()
คำอธิบาย : 
- บรรทัด 1 : คำสั่ง import matplotlib เป็นการเรียกใช้งานไลบรารี่สำหรับการพล็อตกราฟ
- บรรทัด 2 : เป็นการประกาศตัวแปร data มีสมาชิกรวมทั้งหมด 10 ตัว
- บรรทัด 3 : เป็นการพล็อตกราฟแท่ง bar() โดยข้อมูลที่ป้อนให้คือช่วงตัวเลขของจำนวนข้อมูล (ข้อมูล 10 ตัว) และข้อมูลในตัวแปร data
- บรรทัด 4 : คือการพล็อตกราฟให้แสดงผลใน Ipython Notebook

การพล็อตฮีสโตรแกรม

Histogram เป็นการแสดงกราฟความถี่ สามารถเรียกใช้คำสั่ง hist() เพื่อพล็อตความถี่ภายในตัวแปรลีสต์ พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้
import matplotlib.pyplot as plt
data = [3, 3, 2, 1, 5, 2, 2, 1, 4, 2]
plt.hist(data)
plt.show()
คำอธิบาย : 
- บรรทัด 1 : คำสั่ง import matplotlib เป็นการเรียกใช้งานไลบรารี่สำหรับการพล็อตกราฟ
- บรรทัด 2 : เป็นการประกาศตัวแปร data มีสมาชิกรวมทั้งหมด 10 ตัว
- บรรทัด 3 : เป็นการพล็อตกราฟความถี่ hist() โดยข้อมูลป้อนคือ ชื่อตัวแปรที่เก็บข้อมูล ในตัวอย่างด้านบนคือตัวแปร data
- บรรทัด 4 : คือการพล็อตกราฟให้แสดงผลใน Ipython Notebook

การพล็อตข้อมูลจุด

การพล็อตข้อมูลจุดใช้ฟังก์ชั่น plot() โดยมีข้อมูล 2 อย่างที่ป้อนให้ฟังก์ชั่น ได้แก่ plot(ช่วงข้อมูล, ข้อมูล)  พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้
import matplotlib.pyplot as plt
data = [3, 3, 2, 1, 5, 2, 2, 1, 4, 2]
plot(range(len(data)), data, 'go')
plt.grid(True)
plt.show()
คำอธิบาย : 
- บรรทัด 1 : คำสั่ง import matplotlib เป็นการเรียกใช้งานไลบรารี่สำหรับการพล็อตกราฟ
- บรรทัด 2 : เป็นการประกาศตัวแปร data มีสมาชิกรวมทั้งหมด 10 ตัว
- บรรทัด 3 : เป็นการพล็อตจุดข้อมูลที่อยู่ในตัวแปร data เมื่อ "go" หมายถึง พล็อดวงกลมสีเขียว (g=green), (o=circle) หากต้องการพล็อตเครื่องหมายบวกสีแดง กำหนดค่าเป็น "r+"
- บรรทัด 4 : คือการพล็อตกราฟให้แสดงผลใน Ipython Notebook

กิจกรรม 1 : ให้นิสิตเขียนโปรแกรมคำนวณพื้นที่สี่เหลี่ยมโดยรับค่าความกว้างและความสูงจากผู้ใช้และแสดงผลลัพธ์พื้นที่สี่เหลี่ยม

กิจกรรม 2 : ให้นิสิตเขียนโปรแกรมคำนวณพื้นที่สามเหลี่ยมโดยรับค่าความกว้างและความสูงจากผู้ใช้จากนั้นแสดงผลลัพธ์พื้นที่สามเหลี่ยม

กิจกรรม 3 : ให้นิสิตเขียนโปรแกรมคำนวณพื้นที่วงกลมโดยรับค่ารัศมีจากผู้ใช้จากนั้นแสดงผลลัพธ์พื้นที่วงกลม

กิจกรรม 4 : ให้นิสิตเขียนโปรแกรมคำนวณพื้นที่หลายเหลี่ยมด้านเท่าโดยรับค่าจำนวนด้านจากผู้ใช้และแสดงผลลัพธ์พื้นที่หลายเหลี่ยม

กิจกรรม 5 : ให้นิสิตเขียนโปรแกรมคำนวณปริมาตรทรงกระบอกโดยรับค่ารัศมีและความสูงจากผู้ใช้ จากนั้นแสดงผลลัพธ์

กิจกรรมที่ 6 : ให้นิสิตเขียนโปรแกรมคำนวณปริมาตรกรวยโดยรับค่าความสูงและรัศมี จากนั้นแสดงผลลัพธ์

กิจกรรมที่ 7 : ให้นิสิตเขียนโปรแกรมคำนวณปริมาตรทรงรี โดยรับค่าความยาวแกน x y และ z จากนั้นแสดงผลลัพธ์ปริมาตรทรงรี

กิจกรรมที่ 8 : ให้นิสิตเขียนโปรแกรมคำนวณค่าเฉลี่ยโดยกำหนดค่าข้อมูลอย่างน้อยมีสมาชิกมากกว่า 5 ตัว จากนั้นแสดงผลลัพธ์ค่าเฉลี่ย

» นิสิตกำหนดข้อมูลขึ้นเองมีสมาชิกอย่างน้อย 5 ตัว

กิจกรรมที่ 9 : ให้นิสิตกำหนดค่าตัวแปรลีสต์โดยมีสมาชิกอย่างน้อย 20 ตัว จากนั้นเขียนโปรแกรมเพื่อเรียงข้อมูลจากน้อยไปหามากและแสดงผลลัพธ์

» ให้นิสิตกำหนดข้อมูล 20 ตัว จากแสดงผลลัพธ์การเรียงลำดับจากน้อยไปมากและมากไปน้อย

กิจกรรมที่ 10 : ให้นิสิตใช้ข้อมูลจากกิจกรรม 9 จากนั้นเขียนโปรแกรมเพื่อเรียงลำดับจากมากไปน้อยและแสดงผลลัพธ์

» การใช้ฟังก์ชั่น reverse() สำหรับเรียงลำดับจากด้านหลังมาด้านหน้า

กิจกรรมที่ 11 : ให้นิสิตใช้ข้อมูลจากกิจกรรม 9 โดยให้ลบสมาชิกตำแหน่งที่ 0 และตำแหน่งสุดท้ายทิ้งไป จากนั้นพิมพ์ผลลัพธ์

» ให้นิสิตลบสมาชิกตำแหน่งที่ 0 และตำแหน่งสุดท้ายทิ้งไป จากนั้นแสดงผลลัพธ์

กิจกรรม 12 : ให้นิสิตใช้ข้อมูลจากกิจกรรม 9 จากนั้นให้เพิ่มสมาชิกเป็นตัวเลขต่อท้ายตัวแปรลีสต์ จากนั้นพิมพ์ผลลัพธ์

» ให้เพิ่มสมาชิกต่อท้ายลีสต์และแสดงผลลัพธ์

กิจกรรมที่ 13 : ให้นิสิตใช้ข้อมูลจากกิจกรรม 9 โดยเลือกเอาสมาชิกตำแหน่งที่ 3 ไปถึงตำแหน่งสุดท้ายออกมาแสดงเป็นผลลัพธ์

» ให้แสดงผลลัพธ์จากลำดับที่ 3 ถึงลำดับสุดท้ายของสมาชิกในตัวแปรลีสต์

กิจกรรมที่ 14 : ให้นิสิตใช้ข้อมูลจากกิจกรรม 9 มาใช้ในการพล็อตกราฟแท่งและแสดงผลลัพธ์

» ให้พล็อตกราฟแท่งของข้อมูลที่สร้างขึ้น

กิจกรรมที่ 15 : ให้นิสิตกำจัดข้อมูลที่ซ้ำกันในรายการลีสต์ทิ้งไป โดยใช้ข้อมูลจากกิจกรรม 9 จากนั้นแสดงผลลัพธ์

» ให้กำจัดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนในตัวแปรลีสต์ จากนั้นแสดงผลลัพธ์

กิจกรรมที่ 16 : ให้นิสิตประกาศตัวแปรลีสต์ จากนั้นรับค่าจากแป้นพิมพ์ และพิมพ์ผลลัพธ์ว่าพบคำที่ป้อนเข้ามากี่คำ

»  ให้นิสิตประกาศตัวแปรลีสต์ จากนั้นรับค่าจากแป้นพิมพ์ และพิมพ์ผลลัพธ์ว่าพบคำที่ป้อนเข้ามากี่คำ

รายชื่อการเข้าเรียนและส่งงาน

» ไม่พบกิจกรรมการเรียนในสัปดาห์นี้ กรุณาตรวจสอบเวลา : วันนี้ คือ วันที่ 21-05-2024
สัปดาห์ที่ 2 : องค์ประกอบพื้นฐานของโปรแกรมภาษาไพธอน (python)