สัปดาห์ที่ 3 : IP Address (Internet Protocol Address)

» IPv4 เวอร์ชั่น 4 (32 บิต)
» คลาสของ IPv4 A B C D และ E
» ส่วนประกอบของ IPv4 3 ฟิลด์ Class, NetID, HostID
» ประเภทของ IPv4 แบบ Public และ Private
» การจัดสรรไอพีด้วยคลาส Class Addressing
» การแบ่งเครือข่าย (Sub Netting) NetID, SubnetID และ HostID
» Sub Netmark (32 bits)
» การจัดสรรไอพีแบบ Classes Addressing (CIDR) ด้วยการใส่ slash ตามขนาด mask
» การหา subnet, network address , broadcast address ช่วงไอพีที่ใช้งาน และหมายเลข subnet mask
» ปฏิบัติการ คำนวณ subnet, network address, broadcast address ช่วงไอพีที่ใช้งาน และหมายเลข subnet mask จาก CIDR national ตามที่กำหนด
» สร้างคอมพิวเตอร์ภายใต้สวิตช์เดียวกันและกำหนดไอพีและ sub netmask ที่ต่างกัน จากนั้นทดสอบ ping หากันทำได้หรือไม่เพราะอะไร ให้อธิบายเหตุผลประกอบ
» ทดสอบท้ายบทเรียน

IP Address

» IP Address คือ หมายเลขที่ใช้กำหนดให้กับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เน็ตเวอร์คสื่อสารกันได้ 
» ไอพีที่ใช้ในปัจจุบันเป็นเวอร์ชั่น 4 (IPv4) ซึ่งไม่เพียงพอต่อการใช้งาน จึงมีการพัฒนาเวอร์ชั่น 6 (IPv6) เพื่อรองรับอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ต้องใช้ IP ในการติดต่อสื่อสาร
» IPv4 ใช้จำนวนบิต 32 บิต ส่วน IPv6 ใช้จำนวนบิต 128 บิต
» หน่วยงานจัดสรรค์ IP Address ในโซนเอเชีย คือ APNIC ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ต้องขอไอพีจาก APNIC และนำมาแจกจ่ายให้ลูกค้าต่อไป
» IPv4 แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) Public IP (ไอพีแท้) สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ 2) Private IP (ไอพีปลอม) ไม่สามารถออกอินเตอร์เน็ตได้ ต้องมีอุปกรณ์ Gateway เช่น Router, Server หรือ Modem DSL และเปิดบริการ NAT (Network Address Translation) จึงจะทำให้ private ip ออกเน็ตได้
การกำหนด IP Address มี 2 แบบ คือ 
1. FLSM (Fixed-Length Subnet Mask) หรือ Classful Addressing คือ ใช้แนวคิดแบ่ง IP เป็น 5 คลาส ได้แก่ A B C D และ E
2. VLSM (Variable Length Subnet Mask) หรือ Classless Addressing คือ CIDR (Classless Inter-Domain Routing) อ่านว่า ไซเดอร์ (CI-DER) เป็นการกำหนดไอพีแบบใหม่โดยใช้ netmask และเพิ่มสัญลักษณ์ / (slash) ตามด้วยขนาด mask เช่น 128.10.0.0/16 
- ในอดีตการออกแบบเน็ตเวอร์คจะใช้ FLSM และ Classful Routing Protocol โดยกำหนดให้ subnet mask เดียวกันทั้งหมด 
- ต่อมาเมื่อมีการใช้ไอพีมากขึ้นทำให้การใช้ FLSM มีปัญหา คือ IP ไม่พอใช้งาน จึงมีการออกแบบ subnet mask แบบไม่คงที่ทั้งวง เรียกว่า VLSM ซึ่งใช้คู่กับ Classless Routing Protocol
ความแตกต่างระหว่าง Classful และ Classless Addressing
1. classful ใช้ subnet mask ดังนั้น
    - คลาส A มี subnet mask = 255.0.0.0 จะมีไอพีระหว่าง 0.0.0.0 - 127.255.255.255 
    - คลาส B ใช้ subnet mask = 255.255.0.0 จะมีไอพีระหว่าง 128.0.0.0 - 192.255.255.255 
    - คลาส C ใช้ subnet mask = 255.255.255.0 จะมีไอพีระหว่าง 192.0.0.0 - 255.255.255.0 
2. classless ip addressing หมายถึงใช้ subnetmask ค่าใดก็ได้ที่ต้องการ 
3. ถ้ามีไอพีเบอร์ 192.168.16.0/24 และ 192.168.17.0/24 จะถูกมองว่าเป็นคนละวงเน็ตเวอร์คบนเราเตอร์ แต่ถ้าใส่ 192.168.16.0/22 มันจะครอบคลุมทั้งสองเน็ตเวอร์ค

เวอร์ชั่นของ IP Address

» ไอพีแอดเดรส (IP : Internet Protocol)  มี 2 เวอร์ชั่น 
1. IPv4 คือ เวอร์ชั่น 4 ใช้ 32 บิต สามารถมีไอพีได้เท่ากับ \( 2^{32} = 4294967296  \)  เช่น 202.28.34.208
2. IPv6 คือ เวอร์ชั่น 6 ใช้ 128 บิต สามารถมีไอพีได้เท่ากับ \( 2^{128} = 340282366920938463463374607431768211456  \)  เช่น 2001:0000:0000:cd30:0000:0000:0000:0001/64 เขียนย่อได้ว่า  "2001:0:0:cd30::1/64" เป็นต้น

คลาสของ IPv4 A B C D และ E (Classful addressing)

»  IPv4 ใช้ 32 บิต โดยแบ่งเป็น ชุดละ 8 บิต ได้ 4 ชุด คั่นด้วยเครื่องหมายจุด เช่น 1111 1111 1111 1111  มีค่าเท่ากับ 255.255.255.255
» IPv4 แบ่งเป็น 5 คลาส จากไบต์ที่ 1 ดังนี้
- Class A คือ 1 บิตซ้ายสุดมีค่า เท่ากับ 0 เช่น 00000000 ถึง 01111111 มีค่า 0 ถึง 127 เริ่มต้นจาก 0.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 ดังนั้น คลาส A ใช้ 7 บิตสำหรับ Network ID ส่วน Host ID ใช้ 24 บิต
- Class B คือ 2 บิตซ้ายมีค่า 1 0 เช่น 10000000 ถึง 10111111  มีค่าระหว่าง 128 ถึง 191 เริ่มต้นจาก 128.0.0.0 ถึง 191.255.255.255 ดังนั้น คลาส B ใช้ 14 บิตสำหรับ Network ID และ Host ID ใช้ 16 บิต
- Class C คือ 3 บิตซ้ายมีค่า 1 1 0 เช่น 11000000 ถึง 11011111  มีค่าระหว่าง 192 ถึง 223 เริ่มต้นจาก 192.0.0.0 ถึง 223.255.255.255 ดังนั้น คลาส C ใช้ 21 บิตสำหรับ Network ID (~2ล้าน network id)  และ Host ID ใช้ 8 บิต (256 คอมพิวเตอร์ต่อเน็ตเวอร์ค)
- Class D คือ 4 บิตซ้ายมีค่า 1 1 1 0 เช่น 11100000 ถึง 11101111 มีค่าระหว่าง 224 ถึง 239 เริ่มต้นจาก 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 
- Class E คือ 4 บิตซ้ายมีค่า 1 1 1 1 เช่น 11110000 ถึง 11111111 มีค่าระหว่าง 240 ถึง 255 เริ่มต้นจาก 240.0.0.0 ถึง 255.255.255.255
IP ที่สามารถนำไป Set ให้อุปกรณ์หรือ Host ได้จะมีอยู่ 3 Class คือ Class A, B และ C ส่วน IP Class D จะสงวนไว้ใช้สำหรับงาน multicast applications และ IP Class E จะสงวนไว้สำหรับงานวิจัย หรือไว้ใช้ในอนาคต

Network IP / HOST IP และ Broadcast IP

ไอพีของเครือข่ายจะมีอยู่ 3 ลักษณะ
1) Network IP เปรียบเหมือนเลขไอพีทำหน้าที่แทนหมายเลขประจำหมู่บ้าน (เน็ตเวอร์ค) 
2) Host IP เปรียบเหมือนเลขไอพีที่ทำหน้าที่บอกบ้านเลขที่ของแต่ละหลัง 
3) Broadcast IP เปรียบเหมือนไอพีที่ทำหน้าที่บอกหมายเลขสถานีกระจายเสียงประจำหมู่บ้าน 

การคำนวณ IPv4

» เมื่อทราบ IP Address จะทำให้สามารถคำนวณค่าต่าง ๆ ออกมาได้ ดังนี้
1) ค่า Subnet Mask
2) ค่า Network IP
3) ค่า Broadcast IP
4) Range Host IP คือ ไอพีที่ใช้งานได้
5) จำนวน Subnets 
6) จำนวน Host ต่อ Subnet

» 1. การคำนวน sub netmask ของ ไอพี 192.168.22.50/30

วิธีทำ
1. เขียนเลข 1 เท่ากับจำนวน prefix และเติมเลข 0 ให้ครบ 32 ตัว ดังนั้นจะได้ผลลัพธ์ดังนี้
11111111.11111111.11111111.11111100

2. แปลงเลขฐาน 2 เป็นฐาน 10 จากตารางต่อไปนี้
ผลลัพธ์ที่ได้มีค่า :
11111111.11111111.11111111.11111100 = 255.255.255.252
คำตอบ : CIDR /30 มีค่า netmask = 255.255.255.252

» ตารางสรุป VLSM

#Network bits Subnet Mask Bits Borrowed Subnets Hosts/Subnet
1 24255.255.255.001254
2 25255.255.255.12812126
3 26255.255.255.1922462
4 27255.255.255.2243830
5 28255.255.255.24041614
6 29255.255.255.2485326
7 30255.255.255.2526642

» จงคำนวน sub netmask ของ prefix /27

วิธีทำ
1. เขียนเลข 1 เท่ากับจำนวน prefix และเติมเลข 0 ให้ครบ __ ตัว ดังนั้นจะได้ผลลัพธ์ดังนี้
ตอบ : .....................................................................................

2. แปลงเลขฐาน 2 เป็นฐาน 10 จากตารางด้านบน
ตอบ : .....................................................................................
คำตอบ : CIDR /27 มีค่า netmask = ................................

» จงคำนวน sub netmask ของ 192.168.22.50/20

วิธีทำ
1. เขียนเลข 1 เท่ากับจำนวน prefix และเติมเลข 0 ให้ครบ __ ตัว ดังนั้นจะได้ผลลัพธ์ดังนี้
ตอบ : .....................................................................................

2. แปลงเลขฐาน 2 เป็นฐาน 10 จากตารางด้านบน
ตอบ : .....................................................................................
คำตอบ : CIDR /20 มีค่า netmask = ................................

» 2. การคำนวน Network IP ของไอพี 192.168.22.50/30

วิธีทำ
1. แปลงไอพีเป็นเลขฐานสอง ได้ดังนี้
เลข IP ในรูปฐานสอง   11000000.10101000.00010110.00110010 = 192.168.22.50
Netmask รูปฐานสอง  11111111.11111111.11111111.11111100 = 255.255.255.252
โอเปอร์เรเตอร์ AND    11000000.10101000.00010110.00110000 = 192.168.22.48
คำตอบ : Network IP มีค่าเท่ากับ 192.168.22.48

» 3. การคำนวน Broadcast IP ของไอพี 192.168.22.50/30

วิธีทำ
1. แปลงไอพีเป็นเลขฐานสอง ได้ดังนี้
Netmask รูปฐานสอง  11111111.11111111.11111111.11111100 = 255.255.255.252
Wildcard (กลับบิต)    00000000.00000000.00000000.00000011 = 0.0.0.3
เลข IP ในรูปฐานสอง   11000000.10101000.00010110.00110010 = 192.168.22.50
โอเปอร์เรเตอร์ OR      11000000.10101000.00010110.00110011 = 192.168.22.51
คำตอบ : Broadcast IP มีค่าเท่ากับ 192.168.22.51

» 4. การคำนวน Range Host IP ของไอพี 192.168.22.50/30

วิธีทำ
Range Host IP จะมีค่า Network IP + 1 ถึง Broadcast IP -1
Network IP มีค่าเท่ากับ 192.168.22.48
Broadcast IP มีค่าเท่ากับ 192.168.22.51
คำตอบ : Range Host IP มีค่าเท่ากับ 192.168.22.49 ถึง 192.168.22.50

» 5. การคำนวณจำนวน subnet ของ 192.168.22.50/30

วิธีทำ
สูตรจำนวน subnet = \( 2^{(borrow bit)} = 2^{6} = 64 \) 
คำตอบ :subnet = 64

» 6. การคำนวณจำนวน Host ของ 192.168.22.50/30

วิธีทำ
สูตรจำนวน subnet = \( 2^{(32 - prefix)} = 2^{(32-30)} = 2^{2} = 4\) 
คำตอบ : สามารถมี Host ได้ 4 เครื่องต่อ 1 วงเน็ตเวอร์ค (Network) โดยต้องลบ Network IP และ Broadcast IP จึงเหลือ 2 เครื่อง

ตัวอย่าง : การคำนวณ IPv4

» จากไอพีแอดเดรส 192.17.10.0/27 จงคำนวณหา
1. จำนวน subnet
2. ในแต่ละ subnet จงหา
    2.1 หมายเลข Network Address หรือ Subnet Address หรือ Network ID
    2.2 หมายเลข Broadcast Address
    2.3 ช่วงหมายเลข IP ที่ใช้งานได้
3. คำนวณหาหมายเลข sub netmask
วิธีทำ
1) คำนวณ subnet ได้ดังนี้
จากไอพี 194.17.10.0/27 ให้นำ prefix ซึ่งคือเลข 27 มาเขียนเป็นฐานสองจะได้ดังนี้
11111111.11111111.11111111.11100000 -> มีเลข 1 ด้านหน้าทั้งหมด 27 ตัว และเติม 0 อีก 5 ตัว เพื่อให้ครบ 32 บิต

- บิตที่เกินมาคือเลข 1 สีแดงเข้ม มีอยู่ 3 ตัว คือ 11100000 ดังนั้น จำนวน sub netmask มีค่า \( 2^{3} = 8  \) 
- บิตที่เหลือคือเลข 0 มีอยู่ 5 ตัว คือ 11100000 ดังนั้น จำนวน host ต่อ subnet มีค่า \( 2^{5} = 32   \)

2) คำนวณ sub netmask ดังนี้
- 11111111.11111111.11111111.11100000 
ค่าประจำตำแหน่ง มีค่า  128      64    32     16     8     4     2    1
         ไบต์ขวาสุด มีค่า     1        1      1      0     0     0     0    0
         มีค่า                128  +   64  + 32  + 0  + 0  + 0  + 0 + 0  รวมมีค่า 224
ดังนั้น sub netmask มีค่า 255.255.255.224

3) คำนวณ IP ของแต่ละ subnet ดังนี้
Subnet 0 = 194.17.10.00000000 -> NetID:194.17.10.0 -> Broadcast=194.17.10.31
Subnet 1 = 194.17.10.00100000 -> NetID:194.17.10.32 -> Broadcast=194.17.10.63
Subnet 2 = 194.17.10.01000000 -> NetID:194.17.10.64 -> Broadcast=194.17.10.95
Subnet 3 = 194.17.10.01100000 -> NetID:194.17.10.96 -> Broadcast=194.17.10.127
Subnet 4 = 194.17.10.10000000 -> NetID:194.17.10.128 -> Broadcast=194.17.10.159
Subnet 5 = 194.17.10.10100000 -> NetID:194.17.10.160 -> Broadcast=194.17.10.191
Subnet 6 = 194.17.10.11000000 -> NetID:194.17.10.192 -> Broadcast=194.17.10.223
Subnet 7 = 194.17.10.11100000 -> NetID:194.17.10.224 -> Broadcast=194.17.10.255

NAT (Network Address Translation)

NAT คือการแก้ปัญหาการขาดแคลนไอพีแท้ โดยทำให้ไอพีปลอมสามารถออกไปยังเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ หลักการทำงานคือ แปลงหมายเลข private ip เป็นไอพีแท้ มี 2 แบบ
1) Static NAT คือ จับคู่ private ip กับ ไอพีแท้แบบตั้งค่าตายตัว
2) Dynamic NAT คือ จับคู่ private ip กับไอพีแท้แบบหมุนเวียนไปไม่ซ้ำกัน
3) Overloading NAT คือ เมื่อ private ip ต้องการออกเน็ตจะแปลงเป็น public ip เพียงหมายเลขเดียวแต่จะมีหมายเลขพอร์ตที่แตกต่างกัน ทำให้ประหยัดไอพีได้
4) Overlapping NAT เช่น เมื่อเปลี่ยน ISP รายใหม่จะได้ไอพีใหม่แต่ไม่ต้องกำหนดไอพีภายในเครือข่ายทั้งหมด

ตัวอย่าง: สร้างคอมพิวเตอร์ภายใต้สวิตช์เดียวกันและกำหนดไอพีและ sub netmask

สร้างคอมพิวเตอร์ภายใต้สวิตช์เดียวกันและกำหนดไอพีและ sub netmask ที่ต่างกัน จากนั้นทดสอบ ping หากันทำได้หรือไม่เพราะอะไร ให้อธิบายเหตุผลประกอบ
1. วาง switch3 รุ่น 2950-24 ลงพื้นที่งาน
2. จงสร้างวงเน็ตเวอร์คขึ้นมา 3 วง 
   - วงที่หนึ่งมี HOST จำนวน 2 เครื่อง
   - วงที่สองมี HOST จำนวน 4 เครื่อง
   - วงที่สามมี HOST จำนวน 2 เครื่อง
3. ให้กำหนดไอพีให้แต่ละวง
4. ให้ HOST ในวงที่ 1 ping หา HOST ในวงที่ 2 และ 3 สามารถ ping ได้หรือไม่เพราะเหตุใด ?

จากไดอะแกรมต่อไปนี้จงออกแบบ Subnet ให้เหมาะสมกับจำนวน Host

ใช้ตาราง CIDR และ subnet mask ต่อไปนี้ตอบคำถามด้านล่าง
กำหนดไอพี 192.168.55.0/24 จงแบ่ง Host ให้เหมาะกับแต่ละ subnet ด้วยวิธี VLSM
» เมื่อ /24 คือ netmask 255.255.255.0 มีเครื่องอยู่ในระบบได้ 256 เครื่อง จาก 192.168.55.0 ถึง 192.168.55.255 โดยใช้ subnet มาช่วย ดังนี้
» เน็ตเวอร์วงที่ 1 ต้องการใช้ Host กี่เครื่อง ? .... (7) ต้องใช้ Subnet เท่าไร ....................... (/28)
   - เริ่มจาก 192.168.55.0/28 - 192.168.55.15/28
» เน็ตเวอร์วงที่ 2 ต้องการใช้ Host กี่เครื่อง ? ..... (2) ต้องใช้ Subnet เท่าไร ....................... (/30)
   - เริ่มจาก 192.168.55.16/30 - 192.168.55.19/30
» เน็ตเวอร์วงที่ 3 ต้องการใช้ Host กี่เครื่อง ? ..... (90) ต้องใช้ Subnet เท่าไร ....................... (/25)
   - เริ่มจาก 192.168.55.128/25 - 192.168.55.127/25
» เน็ตเวอร์วงที่ 4 ต้องการใช้ Host กี่เครื่อง ? ..... (2) ต้องใช้ Subnet เท่าไร ....................... (/30)
   - เลือก subnets ที่ไอพีไม่ซ้ำกับที่ผ่านมา เช่น 192.168.55.20/30 - 192.168.55.23/30
» เน็ตเวอร์วงที่ 5 ต้องการใช้ Host กี่เครื่อง ? ..... (23) ต้องใช้ Subnet เท่าไร ....................... (/27)
   - เลือก 192.168.55.32/27 - 192.168.55.63/27

กิจกรรม 1 : การแชร์อินเตอร์เน็ตแบบ NAT

คำชี้แจง
» การแชร์อินเตอร์เน็ตแบบ (ICS : Internet Connection Service) มี 2 แบบ คือ 1) NAT และ 2) Bridge
» ติดตั้ง Windows 2003 Server จำนวน 1 เครื่อง ใส่ LAN Card (Interface) เข้าไป 2 อัน กำหนด LAN1 เป็น Bridge และ LAN2 เป็น Internal
» ติดตั้ง Windows XP จำนวน  2 เครื่อง ใส่ LAN Card 1 อัน กำหนดเป็น internal
» ดาวน์โหลดไฟล์ windows 2003 server ที่นี่
» ดาวน์โหลดไฟล์ windows xp ที่นี่
» การเปิด ICS Service เพื่อแชร์อินเตอร์เน็ตด้วย Windows 2003 
1. เลือก Control Panel
2. เลือก LAN Card ที่กำหนดเป็น Bridge -> คลิ๊กขวา -> Property -> เลือก แท็บ Advanced -> เลือก Allow other network users to connect through this computer's internet connection -> เลือกปุ่ม setting -> เลือก HTTP, HTTPS, Remote Desktop, FTP กด OK
หลังจากนั้น LAN Card 2 ที่กำหนดเป็น Internet จะเริ่มทำงาน โดยจะมีไอพีเป็นคนละวงกับ LAN Card 1 ในตัวอย่างนี้คือ 192.168.0.1
3. เปิดเครื่อง Windows XP ซึ่งมี LAN Card 1 อัน กำหนด IP เป็น DHCP ในตัวอย่างนี้จะได้รับไอพีเป็นหมายเลข 192.158.0.111 ซึ่งอยู่เน็ตเวอร์คเดียวกับ Windows2003.LAN.2 (NAT) และชี้เกตเวย์ไปยัง IP ของ Win2003.LAN2.NAT (192.168.0.1)

บันทึกวีดีโอการสอน : การแชร์อินเตอร์เน็ตแบบ NAT

วีดีโอ : การแชร์อินเตอร์เน็ตแบบ NAT

กิจกรรม 2 : การแชร์อินเตอร์เน็ตแบบ Bridge

คำชี้แจง
» การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต (ICS : Internet Connection Service) มี 2 แบบ คือ 1) NAT 2) Bridge
» ติดตั้ง Windows 2003 Server จำนวน 1 เครื่อง ใส่ LAN Card (Interface) เข้าไป 2 อัน กำหนด LAN1 เป็น Bridge และ LAN2 เป็น Internal
» ติดตั้ง Windows XP จำนวน  2 เครื่อง ใส่ LAN Card 1 อัน กำหนดเป็น internal
» การเปิด ICS Service เพื่อแชร์อินเตอร์เน็ตด้วย Windows 2003 
1. เลือก Control Panel
2. เลือก LAN Card ที่กำหนดเป็น Bridge -> คลิ๊กขวา -> Property -> เลือก แท็บ Advanced -> เลือก Allow other network users to connect through this computer's internet connection -> เลือกปุ่ม setting -> เลือก HTTP, HTTPS, Remote Desktop, FTP กด OK
หลังจากนั้น LAN Card 2 ที่กำหนดเป็น Internet จะเริ่มทำงาน โดยจะมีไอพีเป็นคนละวงกับ LAN Card 1 ในตัวอย่างนี้คือ 192.168.0.1
3. เปิดเครื่อง Windows XP ซึ่งมี LAN Card 1 อัน กำหนด IP เป็น DHCP ในตัวอย่างนี้จะได้รับไอพีเป็นหมายเลข 192.158.0.111 ซึ่งอยู่เน็ตเวอร์คเดียวกับ Windows2003.LAN.2 (NAT) และชี้เกตเวย์ไปยัง IP ของ Win2003.LAN2.NAT (192.168.0.1)

บันทึกวีดีโอการสอน : การแชร์อินเตอร์เน็ตแบบ Bridge

วีดีโอ : การแชร์อินเตอร์เน็ตแบบ Bridge

กิจกรรม 3 : การใช้งาน Remote Desktop

» เครื่อง Windows XP
1. คลิ๊กขวา My Computer เลือก Property
2. เลือกแท็บ Remote -> เลือก Allow User

บันทึกวีดีโอการสอน : การใช้งาน Remote Desktop

วีดีโอ : การใช้งาน Remote Desktop

ทดสอบท้ายบทเรียน

จงคำนวณค่าต่อไปนี้จากไอพี 112.3.2.3/25
1) ค่า Subnet Mask
2) ค่า Network IP
3) ค่า Broadcast IP
4) Range Host IP คือ ไอพีที่ใช้งานได้
5) จำนวน Subnets 
6) จำนวน Host ต่อ Subnet
ไอพีหมายเลข 192.168.1.20 /24
1. subnet mask
2. จงคำนวณหา Network ID ของ IP เบอร์นี้
3. จงคำนวณหา Boardcast ID ของ IP เบอร์นี้

ไอพีหมายเลข 192.168.1.20 /26
1. subnet mask
2. จงคำนวณหา Network ID ของ IP เบอร์นี้ 
3. จงคำนวณหา Boardcast ID ของ IP เบอร์นี้ 

ไอพี 192.168.22.50/20
1. subnet mask
2. จงคำนวณหา Network ID ของ IP เบอร์นี้ (192.168.16.0)
3. จงคำนวณหา Boardcast ID ของ IP เบอร์นี้ (192.168.31.255)

ไอพี 192.17.10.0/27
1. subnet mask : 
2. จงคำนวณหา Network ID ของ IP เบอร์นี้
3. จงคำนวณหา Boardcast ID ของ IP เบอร์นี้
https://www.xarg.org/tools/subnet-calculator/

กิจกรรม

» รายชื่อผู้เข้าร่วมการฝึกปฏิบัติงานในชั้นเรียน


แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

» การเข้าหัวสายไฟเบอร์แบบ SP APC
»  เครื่องมือเข้าหัวสายไฟเบอร์ออฟติก
»  การเปิดใช้งาน ICS บน Windows 10 เพื่อแชร์อินเทอร์เน็ต
»  การเปิดใช้งาน Multiple RDP เพื่อรองรับการเชื่อมต่อมากกว่า 2 เครื่อง
IP Address (Internet Protocol Address)