ชื่อหลักสูตร : การประมวลผลภาพด้วยภาษาไพธอนขั้นสูง

การประมวลผลภาพด้วยภาษาไพธอนขั้นสูง

รายละเอียด

 หลักการและเหตุผล
 วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม
 วิทยากร
 กลุ่มเป้าหมาย
 ระยะเวลาอบรม
 สถานที่ฝึกอบรม
 ตารางการฝึกอบรม
 การลงทะเบียน
 ขั้นตอนการชำระค่าลงทะเบียน
 ความรู้พื้นฐานของผู้เข้าอบรม
 โปสเตอร์
 รายชื่อผู้ลงทะเบียน

หลักการและเหตุผล

      เทคโนโลยีการประมวลผลภาพดิจิทัล (digital image processing) เป็นศาสตร์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพราะสามารถใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์รูปภาพเพื่อแยกแยะข้อมูลที่สนใจภายในภาพได้ ซึ่งจะช่วยลดเวลาการทำงานของมนุษย์ในการตรวจสอบหลาย ๆ อย่างได้ โดยการเรียนรู้ด้านประมวลผลภาพดิจิทัลจะยังมีประโยชน์อย่างมากที่จะนำไปประยุกต์กับงานด้านต่าง ๆ 
      หลักสูตรนี้ประกอบด้วย การตรวจจับวัตถุภายในภาพ การตรวจจับอิริยาบถ คน ล้ม ยืน นั่ง นอน การตรวจจับใบหน้า การลืมตา อ้าปาก หันหน้าทางซ้าย/ขวา การรู้จำใบหน้า การตรวจข้อสอบปรนัย การตรวจนับเหรียญ การแยกประเภทภาพภูเขาหรือทะเล การรู้จำแผ่นป้ายทะเบียนและการตรวจจับวัตถุภายในภาพ

วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม

1. สามารถตรวจจับใบหน้าได้
2. สามารถตรวจจับอิริยาบทของคน เช่น ยืน เดิน นั่ง นอนได้
3. สามารถตรวจจับการลืมตา อ้าปาก หันหน้าทางซ้าย/ขวา ได้
4. สามารถตรวจข้อสอบปรนัยได้
5. สามารถนับเหรียญภายในภาพได้
6. สามารถแยกประเภทภาพภูเขาและทะเลได้
7. สามารถรู้จำแผ่นป้ายทะเบียนได้
8. สามารถตรวจจับวัตถุ คน นก แมว วัว สุนัข ม้า แกะ เครื่องบน จักรยาน เรือ รถบัส รถยนต์ รถไฟ ขวด เก้าอี้ โต๊ะทานอาหาร กระถางต้นไม้ โซฟา โทรทัศน์ ได้

วิทยากร

ดร.จักรกฤษณ์  แสงแก้ว

กลุ่มเป้าหมาย

ครู บุคลากรที่สอนคอมพิวเตอร์และผู้สนใจทั่วไป

ระยะเวลาอบรม

21-22 กันยายน 2562

สถานที่ฝึกอบรม

ห้อง 501 คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ตารางการฝึกอบรม

วันที่ 1/2
1. การสร้างและเลือกใช้สภาพแวดล้อมด้วย Anaconda
2. การอ่านเขียนไฟล์ภาพ
3. การใช้งาน OpenCV และกล้อง Webcam
4. การตรวจจับใบหน้า
5. การรับส่งข้อมูลและภาพขึ้นเซิร์ฟเวอร์
6. การใช้งาน Machine Learning พยากรณ์ภาพภูเขาหรือทะเล
7. การตรวจจับแลนด์มาร์คบนใบหน้า
8. การตรวจจับการหันหน้าไปทางซ้ายหรือขวา
9. การตรวจจับการอ้าปากหรือหุบปาก
10. การตรวจจับการลืมตาหรือหลับตา

วันที่ 2/2
1. สถาปัตยกรรม YOLO3 และการตรวจจับวัตถุ 80 ชนิด อาทิ คน นก แมว วัว สุนัข ม้า แกะ เครื่องบิน จักรยาน เรือ รถบัส รถยนต์ มอเตอร์ไซด์ รถไฟ ขวด เก้าอี้ โต๊ะอาหาร กระถางต้นไม้ โซฟา โทรทัศน์ เป็นต้น
2. การตรวจจับใบหน้าขนาดเล็กด้วย HR-RES101
3 การตรวจสอบข้อสอบปรนัยด้วยการประมวลผลภาพ
4. การนับจำนวนเหรียญภายในภาพ
5. การตรวจจับและรู้จำทะเบียนรถยนต์
6. การตรวจจับอิริยาบถของมนุษย์ ยืน เดิน นั่ง นอน
7. การรู้จำใบหน้า (Face Recognition)

การลงทะเบียน

สมัครเข้าอบรมผ่านระบบออนไลน์ ค่าอบรมท่านละ 3,000 บาท (รวมอาหารและอุปกรณ์)
ชื่อ : นามสกุล : อาชีพ : เพศ :
สถานที่ทำงาน / ที่อยู่ที่ติดต่อได้สะดวก (กรุณาใส่ที่อยู่ที่ติดต่อได้สะดวก)
ชื่อหน่วยงาน :
ตำแหน่ง :
ที่อยู่ :
โทรศัพท์มือถือ :
โทรสาร :
อีเมล์ :
ข้อมูลที่ต้องการให้ระบุในใบเสร็จรับเงิน(เพื่อความสะดวกในการเบิกจ่ายของผู้เข้ารับการอบรม)


ขั้นตอนการชำระค่าลงทะเบียน

1. ค่าลงทะเบียนอบรม คนละ 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน)
2. วิธีการชำระค่าลงทะเบียน
     2.1 ชำระโดยการโอนเงินเข้าธนาคาร
          ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
          สาขาย่อยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
          

ชื่อบัญชี คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

บัญชีเลขที่ 517-2-06875-0

3. วิธีแจ้งการชำระค่าลงทะเบียน ผู้สมัครเข้าอบรมฯ จะต้องชำระค่าลงทะเบียนการอบรมและส่งหลักฐานการชำระค่าลงทะเบียนการอบรม มาที่อีเมล์ ittraining@it.msu.ac.th ภายในวันที่ 13 กันยายน 2562 หมายเหตุ : ผู้เข้ารับการอบรมจากส่วนราชการต่าง ๆ สามารถเบิกค่าลงทะเบียนจากต้นสังกัดได้ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0409.6/ว 95 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2549 สำหรับพนักงานรัฐวิสาหกิจ และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สามารถเบิกค่าลงทะเบียนจากต้นสังกัดได้ตามระเบียบของแต่ละหน่วยงาน

ความรู้พื้นฐานของผู้เข้าอบรม

การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น

อื่น ๆ

หลักสูตร "การประมวลผลภาพด้วยภาษาไพธอนขั้นสูง" สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง

โปสเตอร์

ประกาศรายชื่อผู้ลงทะเบียน

รายชื่อผู้ลงทะเบียน

การส่งหลักฐานค่าลงทะเบียนสามารถดำเนินการได้โดยคลิ๊กที่ปุ่ม "เลือกไฟล์" สีเขียวด้านหลังรายชื่อของท่าน

ลำดับ ชื่อ-นามสกุล อาชีพ หน่วยงาน สถานะ ส่งหลักฐานการชำระค่าลงทะเบียน
1 รับราชการ กำลังตรวจสอบ เลือกไฟล์... ได้รับเอกสารแล้ว
2 ยังไม่ชำระ เลือกไฟล์...
3 ยังไม่ชำระ เลือกไฟล์...
4 รับราชการ ยังไม่ชำระ เลือกไฟล์...
5 ยังไม่ชำระ เลือกไฟล์...
การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการประมวลผลภาพด้วยภาษาไพธอนขั้นสูง